กล้วยตายพราย

กล้วยตายพราย

กล้วยตายพราย โดยเชื้อรา

เชื้อรา มี 2 ชนิด

  • เกิดจากเชื้อรา Phaeoseptoria musae
  • เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense

กล้วยตายพราย โดยแมลง

ด้วงงวง มี 2 ชนิด

  • ด้วงงวง เจาะลำต้น
  • ด้วงงวงเจาะเหง้า

กล้วยตายพราย มักเกิดตอนที่กล้วยติดเครือซึ่งเป็นช่วงที่ต้นกล้วยต้องการสารอาหารเป็นอย่างมาก เพื่อบำรุงลูก จึงมีความอ่อนแอในการป้องกันตนเอง และโดนโจมตีได้ง่ายที่สุด ดูข้อมูลเพิ่มเติม

เกิดจากเชื้อรา Phaeoseptoria musae

โรคใบจุด มีหลายชนิด เช่น โรคซิกาโตกาสีเหลือง เฟโอเซปทอเรียใบจุด ใบจุดสีดำ ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดสีกระ แต่ละโรคเกิดจากเชื้อราต่างชนิดกัน เราพบโรคนี้ในกล้วยหอมทอง

ลักษณะอาการคือ ใบเกิดเป็นจุดเล็กขนาดเท่าหัวเข็มหมุด สีน้ำตาลดำ รูปร่างยาวรี เมื่อความชื้นเหมาะสมแผลตรงกลางจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนปนเทา ขอบแผลเป็นแถบสีน้ำตาลเข้ม และรอบนอกเป็นสีเหลือง เมื่อเริ่มมีโรคระบาด  โรคใบจุดที่พบอีกชนิดคือ โรคซิกาโตกาสีเหลือง เกิดจากเชื้อรา Cercospora musae มีลักษณะอาการคือ เกิดจุดเล็กๆ สีเหลือง ต่อมาจุดนี้ขยายใหญ่ เป็นขีดสีเหลืองขนานไปตามเส้นใบ ขนาดของแผลโตขึ้น มีรูปร่างเหมือนไข่ ตรงกลางแห้งเป็นสีน้ำตาลปนเทา

เชื้อรา Phaeoseptoria musae

เราป้องกันได้อย่างไร

เราปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม และกล้วยไข่กำแพงเพชร ร่วมกัน ในแปลงที่ไม่เคยปลูกกล้วยมาก่อน แต่แปลงข้างๆ มีการปลูกกล้วยน้ำว้าพื้นบ้านอยู่ก่อน โดยแช่หน่อกล้วยน้ำว้า ด้วยเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 คืน แต่กล้วยหอม และกล้วยไข่กำแพงเพชร ไม่ได้แช่เลย และใช้ปูนขาวโรยในหลุมปลูกทุกหลุม เพียงปีเดียวเราก็พบปัญหาจากเชื้อราชนิดนี้เข้าจนได้ จึงไม่อาจแนะนำวิธีป้องกันที่ดีได้

เราแก้ปัญหาอย่างไร

เราแบ่งปัญหา เป็น 3 ระยะ และแก้ไขต่างกันดังนี้

  1. ระยะเริ่มต้น เราพบโรคใบเหลืองเป็นจุดในกล้วยหอม ครั้งแรก เริ่มจากเป็นจุดเหลืองจากปลายใบ จึงตัด และกองรวมกันไว้ในแปลง ซึ่งเป็นช่วงปลอดฝน ซึ่งได้ผลดี โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย
  2. ระยะกลาง เราพบโรคใบเหลืองเป็นจุดอีกครั้ง หลังจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน ช่วงก่อนฝนตกชุก ระบาดในกล้วยหอมกอที่ติดกับกองรวมใบกล้วยที่เราตัดครั้งก่อน จึงตัดต้นและใบทิ้งแบบยกกอ รอบนี้เราขนออกมานอกแปลง ห่างจากแปลงปลูก ซึ่งได้ผลดี
  3. ระยะรุ่นแรง เราพบโรคใบเหลืองเป็นจุดอีกครั้ง หลังจากครั้งแรกประมาณ 3-4 เดือน ช่วงหลังฝนตกชุก แต่รอบนี้ระบาดไปยังกล้วยหอมหลายต้นในหมู่เดียวกัน จึงตัดต้นและใบทิ้งแบบยกกอทุกกอที่พบเชื้อรา และโรยด้วยปูนขาวกอละ 1 กิโลกรัม รอบนี้เราขนออกมานอกแปลง ห่างจากแปลงปลูก ซึ่งได้ผลดี
เชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense

เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense

เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense เข้าทำลายลำต้น และมีการเจริญเข้าไปในท่อน้ำ ท่ออาหาร ทำให้เกิดอุดตัน ใบจึงมีอาการขาดน้ำ เหี่ยวเฉา และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หักพับ การเจริญจะชะงักงัน และตายในที่สุด เราพบโรคนี้ในกล้วยน้ำว้า

เราป้องกันได้อย่างไร

เราปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม และกล้วยไข่กำแพงเพชร ร่วมกัน ในแปลงที่ไม่เคยปลูกกล้วยมาก่อน แต่แปลงข้างๆ มีการปลูกกล้วยน้ำว้าพื้นบ้านอยู่ก่อน โดยแช่หน่อกล้วยน้ำว้า ด้วยเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 คืน แต่กล้วยหอม และกล้วยไข่กำแพงเพชร ไม่ได้แช่เลย และใช้ปูนขาวโรยในหลุมปลูกทุกหลุม เพียงปีเดียวเราก็พบปัญหาจากเชื้อราชนิดนี้เข้าจนได้ ซึ่งยังไม่พบวิธีป้องกัน

เราแก้ปัญหาอย่างไร

เราแบ่งปัญหา เป็น 3 ระยะ และแก้ไขต่างกันดังนี้

  1. ระยะเริ่มต้น เราพบโรคใบเหลืองในกล้วยน้ำว้า ครั้งแรก เริ่มเหลืองจากขอบใบเพียงต้นเดียว ในกอที่อยู่ลึก เข้าไปกำจัดยาก จึงตัดโดยใช้ตะขอด้ามยาวดึง และกองรวมกันไว้ที่โคนต้น ซึ่งเป็นช่วงปลอดฝน ซึ่งได้ผลดี โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย
  2. ระยะกลาง เราพบโรคใบเหลืองในกล้วยน้ำว้าอีกครั้งที่กอเดิม แต่รอบนี้เป็นหลายต้น จึงบุกเข้าไปล้างกอ โดยตัดทั้งต้นและใบ นำออกมาทิ้งนอกแปลง โรยด้วยปูนขาว 2 กิโลกรัม ซึ่งได้ผลดี
  3. ระยะรุ่นแรง เราไม่พบความรุนแรงของโรคตายพรายจากเชื้อราตัวนี้ แต่อย่างใด
ด้วงงวง

เราป้องกันได้อย่างไร

เราพบปัญหาในกล้วยน้ำว้าซึ่งเป็นกอที่โล่งเตียน ตัดหญ้าเป็นประจำ แต่เป็นช่วงฤดูฝนซึ่งโรยเกลือแบบทิ้งระยะห่างไปกว่า 2 เดือน จึงอาจจะพลาดจากเหตุผลนี้ก็เป็นได้

เกิดจาก ด้วงงวง

ด้วงงวง (stock weevil) มี 2 ชนิด คือด้วงงวง เจาะลำต้น และด้วงงวงเจาะเหง้า หรือรากของต้นกล้วย

  1. ด้วงงวง เจาะลำต้น
    วางไข่ที่กาบใบติดลำต้น เหนือพื้นดินไปถึงกลางลำต้น เมื่อฟักออกจากไข่แล้ว ตัวอ่อนจะเจาะต้นกล้วยทีละน้อยจนถึงไส้กลางลำต้น หากตัดกาบใบออกบ่อยๆ จะเห็นรูพรุนที่ลำต้น
  2. ด้วงงวงเจาะเหง้า หรือรากของต้นกล้วย วางไข่ที่โคนต้นจะเข้าทำลายที่รากและเหง้ากล้วยใต้ดิน ไม่สามารถสังเกตเห็นได้

ด้วงงวงทำให้ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโต ใบเหี่ยวเฉา และตายในที่สุด

เราแก้ปัญหาอย่างไร

เรายังไม่พบปัญหานี้แต่ละแก้ไข 2 อย่างซึ่งได้ผลดี เช่นเดียวกัน

  1. ตัดกอที่โนด้วงทำลายออกแบบยกกอ และนำไปทิ้งนอกแปลง
  2. โรยด้วยเกลือแกง ปริมาณ 4-5 กำมือ อีกกอเราโรยด้วยปูนซิเมนต์ 1 กก. ซึ่งได้ผลดีเช่นเดียวกัน
หนอนม้วนใบ

เกิดจาก หนอนม้วนใบ

หนอนม้วนใบ เป็นตัวอ่อนผีเสื้อจะม้วนใบเพื่อป้องกันตัวเองในเวลากลางวัน และอออกมากัดกินใบกล้วยในเวลากลางคืน ซึ่งหากใบไหนมีหนอนม้วนใบหลายตัว มันจะคืบคลานจากกินใบ ลามไปกินลำต้นด้วย ทำให้ต้นกล้วยเหี่ยวเฉา และอาจตายได้หากกล้วยต้นไหนมีหลายตัว

เราป้องกันได้อย่างไร

เราไม่พบปัญหาจากแปลงปลูกในฟาร์ม และแปลงข้างเคียง ซึ่งโดยปกติไม่ค่อยพบผีเสื้อ สันนิษฐานว่านกที่มีเยอะแยะโดยรอบ คอยกำจัดแทนเราได้เป็นอย่างดี และการดูแลแปลงปลูกไม่ให้รก ด้วยการตัดหญ้าทุกสองอาทิตย์ ทำให้ปัจจุบันยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด

เราแก้ปัญหาอย่างไร

เรายังไม่พบปัญหานี้แต่อย่างใด

บทสรุป

กล้วยตายพราย เป็นโรคที่เกิดแก่ต้นกล้วยเป็นประจำ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่ชัดเจน เราจึงไม่กล้ากล่าวได้ว่า วิธีป้องกันที่ดีเป็นอย่างไร หากเป็นเชื้อรา เราแนะนำได้เพียงให้หลีกเลี่ยงการปลูกติดกับแปลงอื่น และเลือกพื้นที่โล่ง แต่ก็ควรมีไม้บังลมที่ดีด้วย

หากเป็นแมลงทั้งด้วงงวง และหนอนม้วนใบ ซึ่งเป็นแมลงมีปีก สามารถบินมายังแปลงกล้วยได้แบบรอบทิศทาง เราแนะนำให้ตัดหญ้าให้สวนสะอาดอยู่เป็นประจำ และโรยเกลือแกงบริเวณโคนต้น เพื่อกำจัดตัวอ่อนของด้วง เป็นการป้องกัน

แชร์ได้นะ!

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Shopping Cart