หัวข้อที่สำคัญ
ขี้วัว ช่วยเร่งความสูงพืช

“ขี้วัว” ใช้แบบไหนใช้อย่างไรจึงเหมาะสม
สำหรับ ปุ๋ยคอกชนิดนี้ เหมาะกับพืช ที่กำลัง จะขยายราก ซึ่งประโยชน์สำคัญ หรือคุณสมบัติหลัก จะช่วยบำรุงรากได้ดี แต่ควรจะเก็บไว้ หรือตากแห้ง หรือมำน้ำหมัก ซึ่งค่อนข้างเก่าหน่อย หากเก็บมาสดๆ แล้วนำไปใช้เลย จะทำให้เกิด ความร้อน และมีการดึง ไนโตรเจนจากดิน ไปใช้ ทำให้พืชอาจมี อาการใบเหลือง และตายได้ ในการใส่ปุ๋ยขี้วัวจะต้องใช้ ไม่เกินเดือนละ 1 ครั้ง เพราะมีไนโตรเจนเยอะ อาจจะเป็น อันตราย แก่พืช หรือต้นไม้ ที่ได้ใส่ปุ๋ยนี้เข้าไปได้
มูลวัว มีกี่ประเภท?
มูลวัวนม
มูลวัวนม เป็นปุ๋ยคอก ชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมา รองพื้นในการปลูกพืชไร่ อายุยาว เช่น ยางพารา อ้อย เป็นต้น ช่วยทำให้ดิน สามารถเก็บความชื้น ได้นาน มากกว่าเดิม ซึ่งข้อดีข้อนี้ ทำให้พืช สามารถทนร้อน ทนหนาว ทนแล้งได้ดี และสามารถ ช่วยฟื้นตัว เร็วอีกด้วย อีกทั้งยังช่วย ปรับค่า pH ให้เป็นกลาง ในสระน้ำ คลุกเมล็ดพันธุ์พืช ในมูลวัว ก่อนปลูก เป็นการรักษา ไม่ให้มอดแมลง เจาะกิน ปรับปรุง สภาพดิน ที่เสื่อมโทรม ทำให้ดิน มีการระบายน้ำ ได้ดีอากาศถ่ายเท ได้สะดวก ช่วยเพิ่ม ความคงทน ให้แก่ เม็ดดิน เป็นการลด การชะล้าง
K P N ในมูลวัวนม
มูลวัวนม ที่จะนำไปใช้นั้น จะมีธาตุอาหาร ดังนี้
- ธาตุไนโตรเจน (N) ปริมาณ 1.95%
- ธาตุฟอสฟอรัส (P) ปริมาณ 1.76%
- ธาตุโพแทสเซียม (K) ปริมาณ 1.43%
- ธา ตุแคลเซียม (Ca)ปริมาณ 1.82%
- ธาตุแมกนีเซียม (Mg) ปริมาณ 0.56%
- ธาตุกำมะถัน (S) ปริมาณ 0.07%
มูลวัวเนื้อ
มูลวัวเนื้อ เป็นปุ๋ย ที่ช่วยปรับสภาพ ความเป็นกรด – ด่าง ในดินและน้ำ ทั้งยังช่วย ย่อยสลาย อินทรีย์วัตถุ ในดิน ให้เป็นธาตุอาหาร แก่พืช พืชสามารถ ดูดซึม ไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้ พลังงาน มากเหมือน การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ช่วยเร่ง การเจริญเติบโต ของพืชให้สมบูรณ์ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ ในดิน ทำให้ดิน มีความร่วนซุย และช่วยดูดซับ ความชื้นไว้ ในดิน ให้นานขึ้น
K P N ในมูลวัวเนื้อ
มูลวัวนม ที่จะนำไปใช้นั้น จะมีธาตุอาหาร ดังนี้
- ธาตุไนโตรเจน (N) ปริมาณ 1.25%
- ธาตุฟอสฟอรัส (P) ปริมาณ 0.01%
- ธาตุโพแทสเซียม (K) ปริมาณ 2.12%

เคล็ดลับวิธีใช้ให้ได้ประสิทธิภาพ
- การนำมูลวัว ประมาณ 1 กำมือ ใส่ในถังน้ำ ขนาด 10 ลิตร แล้วแช่ไว้ เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นน้ำ จะมีสีแดงอมน้ำตาล ออกมา จำนวนมาก ให้นำน้ำสีแดงอมน้ำตาล ไปรดที่ต้นไม้ หรือพืช ปริมาณ 1 ใน 4 ของแก้ว ต่อต้นไม้ 1 ต้น สำหรับต้นไม้เล็ก ส่วนต้นใหญ่ สามารถรดได้ 1 แก้ว แต่โดยปกติแล้ว การนำไปใช้ ให้ได้ผลดี ละไม่เป็นอันตราย ควรเจือจาย ด้วยน้ำ ในปริมาณ 1 ต่อ 10 สำหรับต้นไม้ หรือ ปริมาณ 1 ต่อ 20 สำหรับพืชผัก เมื่อรด จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ต้นไม้จะสดชื่น และสวยงาม อย่างชัดเจน
- ไม่ควรใส่ เกินเดือนละ 1 ครั้ง เนื่องจาก เป็นการให้ ไนโตรเจนมากเกินไป เป็นอันตราย ต่อพืชได้
การใช้ประโยชน์มูลสัตว์เป็นปุ๋ยให้กับพืชอย่างมีประสิทธิภาพ
ของเสีย ที่ได้จาก ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่ ได้แก่ มูลสัตว์ ซึ่งเป็นส่วน ที่เป็นของแข็ง นั้นประกอบด้วย เศษของพืช และสัตว์ซึ่งเป็นอาหาร ที่สัตว์กินเข้าไป แล้วไม่สามารถย่อยห รือนำไปใช้ ประโยชน์ ได้หมด จึงเหลือเป็นกาก ที่สัตว์ขับถ่ายออกมา โดยเศษอาหารเหล่านี้ ได้ผ่านกระบวนการ ย่อยสลาย ไปบางส่วนแล้ว ในทางเดินอาหาร ดังนั้น ในส่วนที่เป็น มูลสัตว์ จึงยังอุดม ไปด้วยธาตุอาหาร ชนิดต่าง ๆ รวมทั้ง สารอินทรีย์ ที่ละลายน้ำ ได้หลายชนิด ซึ่งเมื่อรวมกันเข้า ก็จะมีองค์ประกอบ ที่สามารถใช้ เป็นธาตุอาหาร ที่สมบูรณ์ ของพืชได้ ส่วนมูลสัตว์ แต่ละชนิด จะมีธาตุ อาหารชนิดใด มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ชนิดของอาหาร ที่สัตว์ชนิดนั้น ๆ กินเข้าไป เป็นปัจจัยสำคัญ รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ระบบการย่อย อาหารของสัตว์ วิธีการให้ อาหาร รวมทั้งการ จัดการ รวบรวม มูลสัตว์ และของเสีย ในฟาร์มด้วย
จากการศึกษา ปริมาณธาตุอาหารพืช ที่มีอยู่ ในมูลสัตว์ ชนิดต่าง ๆ พบว่ามูลสัตว์ แต่ละชนิด มีปริมาณ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหาร ในปริมาณที่ แตกต่างกัน
เมื่อเปรียบเทียบ ปริมาณ ธาตุอาหาร ในมูลสัตว์ ชนิดต่าง ๆ จะเห็นว่า มูลหมู และกากตะกอน ของมูลหมู จากบ่อหมัก ก๊าซชีวภาพ รวมทั้งมูลของไก่ไข่ มีปริมาณธาตุ นโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง แมงกานีส และสังกะสี มากกว่ามูลวัว ขณะที่มูลวัว มีปริมาณ ธาตุโพแทสเซียม และโซเดียม มากกว่ามูลหมู อย่างไรก็ตาม ปริมาณ ธาตุอาหาร เหล่านี้ อาจมี ความผันแปร ไปตามชนิดของ วัตถุดิบอาหาร รวมทั้งแร่ธาตุ ที่เสริมลง ในอาหาร ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ นั้นด้วย
น้ำหมักขี้วัวมีประโยชน์

ถึงแม้ว่า บทความข้างต้น จะบอกว่า มูลหมู มีประโยชน์ มากที่สุดก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับ ราคาต่อกิโลกรัม เราจะพบว่า มูลหมู มีราคาแพงกว่ามาก เนื่องจากการเลี้ยง มีปริมาณลดลง จากโรคระบาด และผู้เลี้ยง จำเป็นต้องมี เงินทุนที่สูงมาก จึงทำให้ เกษตรกร ไม่สามารถนำมาใช้ ในการเกษตรได้
น้ำสกัด ที่เราแนะนำนี้ ทำเองได้ไม่อยาก และปลอดภัย ในการนำไปใช้ประโยชน์ แถมยังมากคุณค่า และราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับ ปุ๋ยเคมี ได้จากการนำ มูลวัวแห้ง ใส่ลงใน ถุงไนลอน (มุ้งเขียว) แล้วแช่ในน้ำ อัตราส่วน 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร ปิดฝาถัง ให้สนิท และหมักไว้ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้น ยกถุงที่บรรจุ ออกจากถัง จะได้น้ำสกัด สีแดงอมน้ำตาลใส ซึ่งควร บรรจุเก็บไว้ ในถัง หรือภาชนะ ที่มีฝาปิด น้ำสกัดที่ได้ สามารถหมักเก็บไว้ ใช้ได้นาน ซึ่งจะทำให้ น้ำสกัดใสยิ่งขึ้น และมีธาตุอาหาร ในรูปที่พืช สามารถนำไป ใช้ประโยชน์ได้ ในปริมาณมากยิ่งขึ้น การทำน้ำสกัดนี้ จะทำให้ ประหยัดกว่า การใช้มูลสัตว์ เป็นปุ๋ยทางดินโดยตรง เนื่องจาก มูลวัวแห้ง 1 กิโลกรัม ทำน้ำสกัด ได้ประมาณ 8 ลิตร นำน้ำสกัด ส่วนใสที่ได้ มาเจือจาง กับน้ำได้ 10 – 20 เท่า เป็น 80 – 160 ลิตร เพื่อใช้เป็นปุ๋ย รดทางดิน หรือฉีดพ่นทางใบ ส่วนกาก ของมูลสัตว์ ที่เหลือ สามารถนำ ไปใช้เป็นปุ๋ยทางดิน ได้เลย โดยไม่ต้อง เสียเวลาหมัก นานถึง 45 วัน เหมือนปุ๋ยหมัก ทั่วไป
น้ำสกัดมูลวัว มีปริมาณ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุ อาหาร ที่เป็นประโยชน์ ต่อพืช สามารถใช้ เป็นปุ๋ย รดทางดิน และฉีดพ่นทางใบ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต การเพิ่มผลผลิต ของพืช อีกทั้งยัง สามารถใช้เป็น ปุ๋ยเพื่อแก้ไข อาการขาด ธาตุอาหารของพืช ได้ น้ำสกัดนี้ มีปริมาณ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุ เกือบทุกธาตุ ในปริมาณ มากกว่า ที่พบในน้ำ สกัดมูลไก่ไข่ อีกด้วย ยกเว้น โพแทสเซียม ที่พบในน้ำสกัด มูลไก่ไข่ ซึ่งมีมากกว่า เล็กน้อย และแคลเซียม ที่พบในน้ำสกัดนี้ มีมากกว่า น้ำสกัดมูลหมู ดังนั้น หากต้องการใช้น้ำสกัด มูลไก่ไข่ หรือน้ำสกัดนี้ เป็นปุ๋ย ฉีดพ่นทางใบ ควรจะใช้ ในอัตราส่วน ที่น้อยกว่า น้ำสกัดมูลหมู เนื่องจาก น้ำสกัดมูลหมู มีปริมาณธาตุอาหาร ที่เป็นประโยชน์ ในการบำรุงใบ น้อยกว่า หรือเจือจางกว่า น้ำหมักนี้ และหากต้องการนำไปใช้ เป็นปุ๋ยบำรุงดอก บำรุงผล ควรเพิ่มปริมาณ ให้มากกว่า น้ำหมัก มูลไก่ไข่ เพื่อเพิ่มปริมาณ โพแทสเซียม ให้ใกล้เคียง มูลไก่ไข่นั่นเอง
ปุ๋ยหมักขี้วัวมีประโยชน์

ขอบคุณบทความจาก กรมพัฒนาที่ดิน
มูลวัว นอกจากจะนำไปใช้ โดยตรง นำไปทำ น้ำหมัก ยังสามารถ นำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก ได้อีกด้วย ประโยชน์จากการ ทำปุ๋ยหมัก มีหลายอย่าง ที่เห็นได้ชัด ก็คือ
- การกำจัดวัชพืช โดยได้ประโยชน์ใหม่ กลายมาเป็นปุ๋ย นั่นเอง
- การทำปุ๋ยใช้เอง ซึ่งประหยัดต้นทุน เป็นอย่างมาก
- การทำรายได้ หากเหลือใช้ ในรูปแบบของ ปุ๋ยหมัก ผสมดินปลูก ได้อีก
แถบภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดระยอง ซึ่งนิยมปลูกผลไม้ และสวนยาง สิ่งที่เราพบเห็น กันมาตั้งแต่เด็ก คือการกำจัดวัชพืช ด้วยสารเคมี หรือยาฆ่าหญ้า ถึงแม้ว่าจพบเห็น ได้น้อยลงในปัจจุบัน เพราะรุ่นลูก ได้รับมรดกตกทอด และลงมือทำเองบ้างแล้ว รวมทั้งได้เปลี่ยนแนว ตามรอย เกษตรยุคใหม่ ใช้เทคโนโลยี แทนสารเคมี มาแทนรุ่น พ่อและแม่ รสมทั้งการเผาตอซัง ในนาข้าว ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนน ตามมาอีกมากมาย อีกด้วย
การใช้สารเร่ง ซุปเปอร์พด.1 ทำปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยธรรมชาติ ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการนำ เศษพืช เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว เศษหญ้า และเศษพืชต่างๆ มาหมักร่วมกับ มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี และเติมสารเร่งจุลินทรีย์ ทำการหมัก และคลุกเคล้า ตามระยะเวลา จนกระทั่งเศษพืช ย่อยสลาย เปลี่ยนสภาพจากเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ย ร่วนแ ละมีสีน้ำตาล ปนดำ จึงนำไปผสมดิน หรือนำไปใส่ ในไร่นา เพื่อบำรุงดิน และบำรุงพืช โดยตรง
วัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก
- เศษพืช ซึ่งเป็นวัสดุหลัก
- มูลสัตว์ต่างๆ เช่น มูลวัว มูลควาย มูลเป็ด มูลไก่
- ปุ๋ยเคมี ต่างๆ ที่มีไนโตรเจนสูงๆ เช่น ปุ๋ยยูเรีย
- สารเร่งจุลินทรีย์ พด.1 หรือเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ ในการย่อยสลาย
ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
- ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย
- ช่วยเพิ่ม ความอุดมสมบูรณ์ ของดิน
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ ใช้ปุ๋ยเคมี หากมีการใช้ร่วมกัน
- สามารถลด ปริมาณการใช้ ปุ๋ยเคมีลงได้
- ช่วยลด ปริมาณขยะ และการเผาทำลาย
- ช่วยทำลายโรคคน และโรคพืชได้
- ช่วยทำลายไข่ หนอน แมลง และเมล็ดวัชพืช
ควรกองปุ๋ยหมักไว้ในที่ไหนดี
- อันดับแรก ควรอยู่ใกล้ กองเศษพืช เพราะไม่ต้องขน วัสดุไกล
- หรือ อยู่ใกล้ แหล่งน้ำ เพราะต้องมีการ พรมน้ำบ่อยๆ
- และต้อง อยู่บนที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง หากน้ำท่วมขัง จะทำให้ จุลินทรีย์ตายได้
- หรือจะอยู่ ใกล้แหล่ง ที่จะนำปุ๋ยหมักไปใช้ ก็สะดวก เวลานำไปใช้งาน
- แต่หากมี ปริมาณมาก ใช้เครื่องจักรกล ปฏิบัติงาน ต้องมีพื้นที่ พอสมควร
- สิ่งที่าำคัญที่สุด กองปุ๋ยหมัก จะมีการปล่อยก๊าซมีเทน จึงควรให้อยู่ห่าง ที่อยู่อาศัย และเปลวไฟ เพราะอาจเกิดอันตรายได้

วิธีการกองปุ๋ยหมักแบบกลับกอง
การกองปุ๋ยหมัก แบบใช้เศษพืช+มูลสัตว์+ปุ๋ยเคมี+สารเร่งจุลินทรีย์ อัตราส่วน เศษพืช 1,000 กก./มูลสัตว์ 200กก./ปุ๋ยยูเรีย 2 กก./สารเร่ง 1ซอง ควรแบ่งทำ ทีละชั้น โดยกองเศษพืช แล้วรดน้ำ ย้ำให้แน่น ใส่วัสดุ แต่ละชนิด ตามลำดับ ให้เศษพืช หนาชั้นละ ประมาณ 30-50 ซม.ชั้นบนสุด ใช้ดินกลบ ให้หนา 2-3 นิ้ว เพื่อป้องกัน แดดเผา และรักษาความชุ่มชื้น จากนั้น ควบคุมความชื้น โดยการพรมน้ำบ่อยๆ ไม่แห้งหรือเปียก จนเกินไปควรกลับกอง ทุก7-10 วัน ภายใน 30-45 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักใช้ (ระยะเวลาการรหมัก ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาหมัก)
* การทำปุ๋ยหมัก ควรใช้วัสดุ ที่เป็นประเภทเดียวกัน มีอายุการย่อยสลาย ใกล้เคียงกัน เช่น หากใช้เศษหญ้า ก็ควรเป็นเศษหญ้า รวมกับใบได้ หากเป็นกิ่งไม้สับ ก็ควรหมักรวม กับวัสดุย่อยยาก เช่น เหง้ามันสำปะหลัง เป็นต้น
วิธีการกองปุ๋ยหมักแบบ ไม่กลับกอง
การกองปุ๋ยหมัก แบบนี้เป็นสูตร จากการทดลอง ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แบบใช้เศษพืช+มูลสัตว์+ปุ๋ยเคมี+สารเร่งจุลินทรีย์ อัตราส่วน เศษพืช 1,000 กก./มูลสัตว์ 200กก./ปุ๋ยยูเรีย 2 กก./สารเร่ง 1ซอง
- ไม่จำเป็นต้องแบ่งทำทีละชั้น โดยการเคล้าเศษพืช แล้วรดน้ำ ให้ชื้น ใส่วัสดุ แต่ละชนิด ผสมรวมกัน
- ให้กองวัสดุ สูง 1.5 เมตร กว้าง 2.5 เมตร ชั้นบนให้เกลี่ย เป็นสันกว้าง 1 เมตร
- ควรกองในที่ร่ม เพื่อป้องกัน แดดเผา และรักษาความชุ่มชื้น จากนั้น ควบคุมความชื้น โดยการพรมน้ำบ่อยๆ ไม่แห้งหรือเปียก จนเกินไป
- ภายใน 45-60 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักใช้ (ระยะเวลาการรหมัก ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาหมัก)
* การทำปุ๋ยหมัก ควรใช้วัสดุ ที่เป็นประเภทเดียวกัน มีอายุการย่อยสลาย ใกล้เคียงกัน เช่น หากใช้เศษหญ้า ก็ควรเป็นเศษหญ้า รวมกับใบได้ หากเป็นกิ่งไม้สับ ก็ควรหมักรวม กับวัสดุย่อยยาก เช่น เหง้ามันสำปะหลัง เป็นต้น
ปุ๋ยหมักใช้ได้หรือยัง สังเกตง่ายๆ คือ
- สีของปุ๋ย จะเข้มขึ้น ( มีสีน้ำตาลคล้ำ-ดำ )
- อุณหภูมิ ภายในกองลดลง( ไม่ร้อน )
- เศษพืช จะมีลักษณะ เปื่อยยุ่ย
- กลิ่นไม่เหม็น (หอมเหมือนดิน ธรรมชาติ)
- อาจพบ ต้นพืชขึ้นบนกอง
วิธีการใช้ และอัตราการใช้ปุ๋ยหมักขี้วัว
- ควรนำไป คลุกเคล้ากับดิน รองก้นหลุม ก่อนปลูกไม้ผลยืนต้น อัตรา 10-30 กก./ต้น
- หรือใส่เพิ่มเติม รอบทรงพุ่ม (แล้วพรวนดินกลบ) อัตรา 20-50 กก./ต้น อย่างน้อย ปีละครั้ง
- หรือผสมดินปลูก สำหรับไม้กระถาง ถุงเพาะชำกล้าไม้ ใช้สัดส่วน ดิน / ปุ๋ยหมัก / ทราย สัดส่วน 4 / 3 / 3 ถึง 4 / 1 / 1
- สำหรับในแปลง พืชผัก ไม้ดอกไม้ ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่
- แต่หากว่าในแปลงพืชไร่ หรือนาข้าว แนะนำให้ใช้ ปุ๋ยพืชสด จะสะดวกกว่า และที่ง่ายที่สุดคือ การไถพรวน ตอซัง หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต แล้วทุกครั้ง(ทันที)
เห็นประโยชน์จากขี้วัว กันหรือยัง?
ไม่ว่าเราจะปลูกพืชชนิดไหน ก็สามารถนำไปใช้ได้ ทุกชนิด เช่น
- พืชไร่ ควรทำปุ๋ยหมัก หว่านบางๆ หลังจากตัดหญ้าแล้ว
- ไม้ผล สมารถใส่สด ได้เลย โดยพักไว้ให้เย็นตัว แล้วรดน้ำตามบ่อยๆ จะย่อยสลายได้เร็วมาก
- พืชผัก ควรทำน้ำหมัก แล้วเจอจางด้วยน้ำ รดด้วยบัวรดน้ำ หากมีการให้น้ำบ่อย ควรใช้น้ำหมัก เพียง สองสัปดาห์ต่อครั้ง โดยผสมน้ำ 1 ต่อ 20 จะไม่ทำให้ผัก เหี่ยวเฉา
- เพาะชำ สามารถใช้กาก จากการทำน้ำหมัก ผสมกับแกลบดำ แกลบดิบ ขุยมะพร้าว ใยมะพร้าว คลุกเคล้สให้เข้ากัน แล้วนำมาชำต้นอ่อน ได้เลย
มูลวัวที่เราผลิต และจำหน่าย
มูลวัวนมแห้ง
มูลวัวนมที่เก็บรวมรวมจากฟาร์ม จะถูกนำมาตากแดด เพื่อให้แห้งสนิท วัวนมที่เลี้ยงในฟาร์ม เกษตรกรผู้เลี้ยงนิยมขุนด้วยอาหารสำเร็จรูป และเสริมด้วยหญ้าเลี้ยงวัว เพื่อเร่งน้ำนม มูลวัวที่เก็บได้จากฟาร์มนี้ จึงไม่มีเมล็ดหญ้าปน ไม่เหมือนมูลวัวเนื้อ ที่นิยมเลี้ยงในทุ่งหญ้า ซึ่งเกษตรกรที่ใช้มูลวัวส่วนใหญ่มักจะบ่นเรื่องนี้เป็นหลัก
ฟาร์มอยู่ดี มีสุข จึงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มูลวัวด้วยมูลวัวนมทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาเรื่องมูลวัวมีเมล็ดหญ้าปน แถมยังมีไนโตรเจนที่สูงกว่ามาก
มูลวัวนมแห้งนี้ จะมีลักษณะเป็นก้อนแห้งสนิท เหมาะสำหรับ
- ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูกพืช ในปริมาณ 1-2 กำมือ (ไม่ควรใส่มาก เพราะกระบวนการย่อยสลาย จะเกิดความร้อน ทำให้พืชมีใบเหลือง และยืนต้นตาย)
- ใส่โคนต้นไม้ โดยรดน้ำตามให้ชุ่ม วิธีนี้ ไม่จำกัดปริมาณ เพียงแต่รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน จนกว่ามูลวัวจะย่อยสลาย
- นำไปเลี้ยงไส้เดือน ซึ่งเป็นนิยมที่สุด แต่บางครั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว แอบใส่โซดาไฟเพื่อกำจัดกลิ่น อาจทำให้มูลวัวที่นำไปเลี้ยงไส้เดือน เป็นอันตรายต่อไส้เดือนได้ จึงควรหมักอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนนำไปใช้
- นำไปแช่น้ำ แล้วนำน้าที่ได้มารดต้นไม้ เป็นวิธีที่ง่าย และได้ประโยชน์สูงสุด เหมาะสำหรับ พืชผัก ไม้กระถาง และไม้พุ่มขนาดเล็ก
มูลวัวนมหมัก
เรานำมูลวัวนมแห้งมาหมักด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นเวลา 15-20 วัน เพื่อให้เกิดการย่อยสลาย ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ไม่ต้องกังวลเรื่องความร้อนที่จะเกิดจากการย่อยสลาย และใช้ในปริมาณมากๆ ได้เลย มูลวัวนมหมักนี้ เหมาะสำหรับ
- พืชผัก ไม้กระถาง และไม้พุ่มขนาดเล็ก
- ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูกพืช ในปริมาณมากๆ ได้ ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกผลไม้ ยางพารา นิยมใช้มูลวัวนมประเภทนี้มาก
มูลวัวนมผสมใบก้ามปูหมัก
เรานำมูลวัวนมแห้งมาผสมใบก้ามปูที่สับแหลกๆ หมักด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นเวลา 15-20 วัน เพื่อให้เกิดการย่อยสลาย มูลวัวนมชนิดนี้ เหมาะสำหรับ
- พืชผัก ประเภทกินใบ ซึ่งจะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีต้นอวบ ใบเขียว เป็นที่นิยมมากๆ
- พืชที่นำลงปลูกใหม่ จะได้ประโยชน์จากไนโตรเจน ของวัสดุทั้งสองชนิดนี้เป็นอย่างมาก ทำให้รากงอกเร็ว และแตกใบอ่อนได้ดี
