ต่างประเทศ เป็นตลาดใหม่สำหรับ สินค้าเกษตรของไทย เราเชื่อเรื่องนี้กันหรือเปล่า ว่าเป็นเรื่องจำเป็นมากกว่า จะเป็นทางเลือกเสียแล้ว แต่หากเราติดตามข่าวเศรษฐกิจ โดยเฉพาะข่าวที่เกี่ยวข้องกับ สินค้าเกษตร และเกษตรกรไทยมานาน จึงพอตาดการณ์ได้ว่า เรื่องนี้มีเหตุและผลรองรับได้เป็นอย่างดี เพราะหากเรายังคงขายในประเทศอย่างเดียว ก็จะมีแต่ตัดราคากันอยู่ร่ำไป ยกเว้นแปรรูปให้ได้แปลกใหม่กว่าเดิม
เรามีข่าวที่แนะนำ 4 ข่าวนี้ เป็นข่าวที่ทำให้ท่านคาดการณ์เองได้ว่า สินค้าเกษตรของไทย มีคนต้องการอยู่แดนไกล อีกมากทีเดียว ในขณะที่ตลาดในประเทศ ดูจะแข่งขันกันสูงมากเสียแล้ว
หัวข้อที่สำคัญ
1. ธุรกิจค้าปลีกทำใจ ฟื้นตัวช้ากว่าที่คิด จากผู้บริโภคหมดเงินซื้อ
ธปท. เผยผลสำรวจธุรกิจค้าปลีกทรุด เนื่องจากคนซื้อหมดเงิน และต้นทุนการผลิตสินค้ากลับแพงขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปม.) เผยผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ต่อภาคธุรกิจไทย (BSI COVID) และผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retailer Sentiment Index: RSI) เดือนมีนาคม 2565 โดยสามารถสรุปสาระสำคัญของแต่ละผลสำรวจได้ดังนี้

(1) ผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ต่อภาคธุรกิจไทย (BSI COVID)
เดือนมีนาคม 2565 ระดับการฟื้นตัวของธุรกิจโดยรวมปรับดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนจากภาคที่มิใช่การผลิต โดยเฉพาะภาคบริการ สอดคล้องกับการฟื้นตัวของระดับการจ้างงาน
จากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ผ่อนคลายมากขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวของภาคการผลิตปรับลดลงเล็กน้อย
สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนกระทบต้นทุนการผลิต ประกอบกับปัญหาการขนส่งที่ยังไม่คลี่คลาย
- ธุรกิจมีมุมมองต่อการฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับก่อน COVID-19 ล่าช้ากว่าการสำรวจรอบก่อน โดยกำลังซื้อที่อ่อนแอ และการแพร่ระบาดในประเทศยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการฟื้นตัว
- ธุรกิจส่วนใหญ่มีสภาพคล่องสำรองใกล้เคียงไตรมาสก่อน แต่การสต็อกวัตถุดิบคงคลังเพิ่มขึ้นในเกือบทุกธุรกิจ จากสถานการณ์การปิดโรงงานของคู่ค้าที่ทยอยคลี่คลายจากไตรมาสก่อน และราคาสินค้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

(2) ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) ซึ่งจัดทำร่วมกับสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
- ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกทั้งปัจจุบันและอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จากกำลังซื้อที่อยู่ในระดับต่ำ มาตรการกระตุ้นการบริโภคทยอยหมดลง ค่าครองชีพสูงขึ้น และจำนวนผู้ติดเชื้อจากการระบาดสายพันธุ์ Omicron เพิ่มขึ้น
- ประเด็นพิเศษ พบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้จ่ายลดลงจากเดือนก่อน ตามมาตรการกระตุ้นการบริโภคที่หมดลง และประเมินว่าสถานการณ์จะปรับแย่ลงอีก จากกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ และปัจจัยกดดันจากราคาสินค้าพื้นฐานหลายหมวดปรับแพงขึ้น สะท้อนจากพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ผู้บริโภคเลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่มีโปรโมชั่นและเลือกสินค้าที่มีขนาดบรรจุภัณฑ์เล็กลง
2. สินค้าเกษตรไทย ส่งออกไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น ข่าวดีของพี่น้องเกษตรกร

จับตา 3 กลุ่มสินค้าของไทยที่ส่งไปขายยังต่างประเทศโตสวนโควิดได้แก่ สินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรม “พาณิชย์”มั่นใจ ทั้งปี 64 ส่งออก15-16% เตรียมหารือกรอ.พาณิชย์ ประเมินส่งออกปี 65
- กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตัวเลขส่งออก11 เดือนไปแล้ว พบว่า ตั้งแต่ มกราคม-พฤศจิกายน 2564
ส่งออกไทยขยายตัว16.4% เฉพาะเดือนพ.ย.บวก 24.7% ทำให้กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าทั้งปี 64 ส่งออกไทยน่าจะขยายตัว15-16% - ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกเดือนพ.ย. 2564 ดีขึ้นถึง 24.7%
- คือการผลักดันการส่งออกในทุกรูปแบบร่วมกับภาคเอกชนในรูป กรอ.พาณิชย์ (คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์)
- ประกอบกับการบริโภคฟื้นตัวต่อเนื่องในหลายประเทศ การขยายตัวของภาคการผลิตทั่วโลก ดัชนี PMI (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก) อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11
ส่งผลให้ขายดีขึ้น ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าอยู่ ช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาได้ในตลาดโลก และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งสินค้าเกษตร น้ำมันดิบ โลหะ เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออก ทำให้ราคาในตลาดโลกสูงขึ้น
ทำให้กระทรวงพาณิชย์ คาดว่า การส่งออกทั้งปี 2564 คงไม่ต่ำกว่า 15-16% ส่วนเป้าหมายปี 2565 จะประชุม กรอ.พาณิชย์ เพื่อประเมินสถานการณ์ร่วมกันก่อน ซึ่งขณะนี้ ได้ประเมินตัวเลขไว้แล้ว แต่ต้องรอประชุมหารือร่วมกับภาคเอกชนก่อน อาจจะเป็นช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปีนี้ หรือไม่ก็สัปดาห์แรกต้นปี 2565

อย่างไรก็ตาม การที่ส่งออกไทยมีการขยานยตัวต่อเนื่องมาจากการส่งออกใน 3 หมวดสินค้า ซึ่งประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตร หมวดสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม และหมวดอุตสาหกรรม
โดยจะเห็นได้ว่า การส่งของไปยังต่างประเทศของ หมวดสินค้าเกษตร มีการขยายตัวเป็นบวกที่ 14.2% ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือนซึ่ง มูลค่าเดือนพฤศจิกายน 68,462 ล้านบาท ซึ่งสินค้าที่ส่งออกได้ดี เช่น
- ทุเรียนสด +138.9% ขยายตัวดีมากในตลาดจีนและเกาหลีใต้
- มะม่วงสด +48.6% ขยายตัวดีมากในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ เมียนมา ญี่ปุ่นและลาว
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง บวก 13 เดือนต่อเนื่อง เดือนพฤศจิกายน +48.6% ขยายตัวดีมาก ในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้และมาเลเซีย
- ลำไยสด เดือนพฤศจิกายน +24.7% เป็นบวก6 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัวดีในตลาดจีน ฮ่องกง เวียดนาม มาเลเซียและฟิลิปปินส์
- ยางพารา เดือน +23.5% เป็นบวก 14 เดือนต่อเนื่อง
หมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร มีการขยายตัวเป็นบวก 21.2% ต่อเนื่องเป็นเดือานที่ 9 ซึ่ง สินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาลทราย เดือนพฤศจิกายน +74%
ผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป +34.5% บวกเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และอาหารสัตว์เลี้ยง บวกเป็นเดือนที่ 27 โดยเดือนพฤศจิกายน +25.9%
และหมวดสุดท้ายคือ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม โดยมีการขยายตัวบวก 23.1% เป็นขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือนติดต่อกันซึ่งสินค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น +72.9% เป็นบวก 10 เดือนต่อเนื่องเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นบวก 12 เดือนต่อเนื่อง เดือนพฤศจิกายน +51.9%อัญมณีและเครื่องประดับ +24.9% เป็นบวกเดือนที่ 9 ติดต่อกัน แผงวงจรไฟฟ้า +26.7% บวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ บวก 12 เดือนต่อเนื่อง +19.9%รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ + 13 เดือนต่อเนื่อง เป็น +12%
ทั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะหมวดสินค้าเท่านั้นที่ขยายตัวได้ดี ตลาดส่งออกสำคัญ ๆ ของไทยมีการขยายตัวต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เช่น
โดยตลาดที่ขยายตัวได้ดี 10 อันดับแรก ประกอบด้วย
- เอเชียใต้ +66%
- อาเซียน +55.1%
- ตะวันออกกลาง +40.7%
- เกาหลีใต้ +30.6%
- สภาพยุโรป +30.2%
- รัสเซียและกลุ่มประเทศ CSI +27.3% จีน +24.3%
- ไต้หวัน +24.2%
- สหรัฐฯ +20.5%
- ทวีปแอฟริกา +18.4%
3. อยากส่งออกสินค้าเกษตร...คุณทำได้ง่ายกว่าที่คิด??

เกษตรกรไทย ปลูกได้ ขายเป็น และกำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ด้วยการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศ แต่ยังไม่มีประสบการณ์ และยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง มีคำแนะนำดีดี จากผู้ประสบการณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาฝาก
ก่อนอื่นตั้งคำถามกับตัวเอง และหาข้อมูลก่อนเลย
- ดูก่อนว่าตอนนี้เราทำอะไรอยู่ และอยากส่งออกอะไร (พืชผัก,ผลไม้,ไม้ดอก,ไม้ประดับ ฯลฯ)
- จะส่งออกไปประเทศไหน ?? (จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อเมริกา ฯลฯ)
- มีคู่ค้า หรือตลาด ที่ประเทศปลายทางที่จะส่งออกแล้วหรือยัง?? (ปรึกษาสายด่วน 1169 กรมส่งเสริมระหว่างประเทศ)
- ศึกษาเงื่อนไขการนำเข้าสินค้าเกษตรของประเทศปลายทาง มีให้เลือก 2 ทางดังนี้
- ให้ลูกค้าปลายทาง เช็คเงื่อนไขการนำเข้าพืชกับเจ้าหน้าที่เกษตรขาเข้าที่ประเทศปลายทาง หรือขออนุญาตนำเข้า (Import permit)
- ศึกษาจากคู่มือเกี่ยวกับเงื่อนไขต่าง ๆ จากเว็บสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
http://www.doa.go.th/ard/?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=110

ใบรับรองสุขอนามัยพืช เอกสารสำคัญที่ใครก็มีได้?
ยกตัวอย่าง การส่งออกผลไม้สดไปต่างประเทศ กับขั้นตอนการขอ ใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate)
- ศึกษาเงื่อนไขการนำเข้าของประเทศปลายทาง เช่น
- บางประเทศ ผลไม้จะต้องมาจากแปลงที่มีการรับรอง (GAP) และคัดบรรจุผลไม้ในโรงคัดบรรจุที่มีการรับรอง (GMP)
- บรรจุภัณฑ์ ต้องใหม่ สะอาด ไม่มีดิน ใบ กิ่ง และศัตรูพืชติดไปกับสินค้า มีฉลากติดข้างบรรจุภัณฑ์ตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศ
- ผลไม้บางชนิด ต้องมีผลการตรวจรับรองสารพิษตกค้าง (Health Certificate) ตามเงื่อนไขของแต่ละประเทศปลายทาง
- ผลไม้บางชนิด ในบางประเทศ ก็มีจำกัดสายพันธุ์ไว้ด้วย
- ศึกษาเงื่อนไขการส่งออกผลไม้ของประเทศไทย เช่น ผลทุเรียนสด ต้องจดทะเบียนผู้ส่งออก (DU) ผลลำไยสด ต้องจดทะเบียนผู้ส่งออก (LO)
- ข้อกำหนดการติดฉลากบนสินค้า เช่น ทุเรียนสด ต้องติดฉลากรายละเอียดที่ขั้วผล
เมื่อศึกษาทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อด่านตรวจพืช กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตรและจัดเตรียมสินค้าสำหรับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ หากไม่พบศัตรูพืชและเป็นไปตามข้อกำหนด เจ้าหน้าที่จะออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
หากเป็นไปได้ให้ทดลอง ส่งตัวอย่างไปให้ลูกค้าได้ทดสอบ เพื่อทดสอบขั้นตอน และเอกสาร รวมทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ในการส่งออก ท่านจะพบว่าปัญหา มีอะไรบ้างที่ต้องแก้ไข เร่งด่วน และควรหาวิธีปรับปรุง ในการส่งออกสินค้าเป็นล็อต อีกทั้งยังช่วยป้องกันความเสียหาย จำนวนมากอีกด้วย
ยกตัวอย่างเงื่อนไขประเทศปลายทางกับการส่งออกมะม่วง ไปต่างประเทศ
- มะม่วงไป สหรัฐอเมริกา ต้องผ่านการฉายรังสีก่อนการส่งออก
- มะม่วงไป ญี่ปุ่น ต้องมีการอบไอน้ำก่อนส่งออก และส่งได้เฉพาะ มะม่วง 7 สายพันธุ์ ได้แก่ หนังกลางวัน น้ำดอกไม้ พิมเสนแดง มหาชนก แรด เขียวเสวย และโชคอนันต์
- มะม่วงไป เกาหลี ต้องมีการอบไอน้ำก่อนส่งออก และส่งได้เฉพาะ มะม่วง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ หนังกลางวัน น้ำดอกไม้ และแรด
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2019/11/SOP-การออกใบรับรองสุขอนามัยพืช-new.pdf
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการส่งออก : สอบถามได้ที่ กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร Tel.02-940-6467-8 email:epqsg@hotmail.com
ก่อนทำการส่งออก เกษตรกรควรได้มีการ เรียนรู้เรื่องวิธีการบรรจุ และการยืดอายุสินค้าเกษตรให้ดี และทดสอบจนแน่ใจว่า หากส่งสินค้าไปแล้ว จะไม่เน่าเสียระหว่างทาง ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการบรรจุ มีผู้ให้ความรู้ได้หลายหน่วยงาน
4. กล้วยตาก”แสงตะวัน” บุกตะวันออกกลาง โต 30% ด้วยฝีมือชาวบ้านนี่เอง!

กล้วยตากแสงตะวันเมืองสองแควโกอินเตอร์ บุกตลาดตะวันออกกลาง อาหรับ-โอมาน-ดูไบ ชูจุดเด่นพันธุ์มะลิอ่องสีเหลืองทอง-หวาน ชี้เติบโตปีละ 30% พร้อมเตรียมรุกส่งออกตุรกี-ลงทุนด้านการแปรรูปแทนซาเนีย
นางดวงดรันย์ อยู่สวัสดิ์ ผู้ผลิตและจำหน่ายกล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ แบรนด์แสงตะวัน จ.พิษณุโลก เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กล้วยตากแสงตะวันมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นชาวต่างชาติ ได้แก่ ประเทศแถบตะวันออกกลาง ทั้งโอมาน อาหรับ ดูไบ ล่าสุดวางแผนส่งออกไปตุรกีและแทนซาเนีย ซึ่งเป็นประเทศมุสลิมทำให้มีคู่แข่งน้อย โดยช่วงรอมฎอนได้รับการตอบรับที่ดีมากจากลูกค้า ซึ่งผู้บริโภคมั่นใจในสินค้าไทย นอกจากนี้ยังมีกล้วยตากแช่น้ำผึ้งเดือนห้า เป็นน้ำผึ้งจากแบรนด์บีโปรดักต์ที่มีเครื่องหมาย
ฮาลาล ถือเป็นยาอายุวัฒนะและกินได้ตามหลักศาสนา ส่วนตลาดในประเทศวางจำหน่ายในท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จ.เชียงใหม่ ทำให้สัดส่วนการส่งออกมากกว่าตลาดภายในประเทศถึง 70%
ปัจจุบันแบรนด์กล้วยตากแสงตะวันมีสินค้าอยู่ 3 ชนิด คือ
กล้วยตากธรรมชาติ กล้วยแช่น้ำผึ้ง และกล้วยม้วน แต่ที่ได้รับความนิยมในอาหรับคือ กล้วยแช่น้ำผึ้ง ราคาขายปลีกอยู่ที่ 180 บาท โดยมีคำว่าอาลีนเป็นภาษาอาหรับแทนสัญลักษณ์ฮาลาล ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาอัตราการเติบโต 20-30% อย่างต่อเนื่อง ส่งออกประมาณ 2-3 ตู้คอนเทนเนอร์/ปี โดย 1 ตู้คอนเทนเนอร์ น้ำหนักประมาณ 25 ตัน มูลค่าตู้ละ 1.2 ล้านบาท ซึ่งเฉลี่ยส่งออกปีละประมาณ 3 รอบ และสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน 1 ปี เหมาะกับช่วงเวลาในการขนส่งไปจนถึงมือผู้บริโภค

ทั้งนี้ กล้วยตากแสงตะวันมาจากการผลิตกล้วยตากในอำเภอบางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยกว่า 80 ปีแล้ว และขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตกล้วยตากอันดับ 1 ของประเทศ ซึ่งเรื่องราวการทำกล้วยตากนั้นสามารถสื่อถึงวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของคนพิษณุโลกได้ โดยจะใช้กล้วยสายพันธุ์มะลิอ่องจากเมืองพิษณุโลกหรือเมืองสองแควเท่านั้น เพราะมีลักษณะเฉพาะทั้งเรื่องของรสชาติและสี เนื้ออวบอ้วน ใส เป็นสีขาว ตากแล้วไม่ดำ เมื่อตากประมาณ 5 แดด จะได้กล้วยเป็นสีทอง น้ำที่ออกมาจากกล้วยจะมีรสชาติดีเหมือนกับน้ำผึ้ง ทำให้ได้รสชาติที่อร่อยถูกปาก
“จุดเริ่มต้นของแบรนด์" คือ แรงบันดาลใจในการนำเสนอสินค้าโอท็อปที่มีชื่อเสียงของพิษณุโลกออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ และการตากกล้วยโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นที่มาของชื่อแบรนด์ เราได้รับด้านนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในเรื่องของการสร้างโดมพาราโบลาในการตากกล้วย ปัจจุบันมีโรงงาน 30 แห่งที่ทดลองใช้ จนมาทำเป็นแบบโดม สามารถควบคุมเรื่องของคุณภาพได้กว่า 93-95% ทำให้ได้กล้วยตากที่มีคุณภาพดี ด้วยกำลังการผลิต 1,800 กิโลกรัม/วัน มีพื้นที่ผลิตอยู่ทั้งหมด 7 โดม รวมกับกล้วยตากของชาวบ้านที่ใช้โดมในการผลิตเช่นกัน
ดูข้อมูล การแปรรูปกล้วยตาก
ข้อมูลเพิ่มเติม การจำหน่ายกล้วยตาก ออนไลน์
Facebook กล้วยตากแสงตะวัน
Lazada บ้านนาอาบแดด