บันได 4 ขั้น สู่​เกษตรยั่งยืนวิถีใหม่

บันได 4 ขั้น สู่​เกษตรยั่งยืนวิถีใหม่

บันได4ขั้น ที่เราจำเป็น ต้องเรียนรู้นี้ หากจะนิยาม ว่าเป็นเรื่องใหม่ ก็นับว่าใหม่ แต่จะบอกว่า เป็นเรื่องเก่า ก็ต้องบอกว่า เราใช้ ในการบริหารธุรกิจ กันมานานแล้ว แต่เราเพิ่ง นำมาปรับใช้ ในแวดวงเกษตรกรรม นั่นเอง แรงงานคืนถิ่นที่มีคนรุ่นใหม่หลังโควิด 19 อาจเป็นจุดเปลี่ยน ที่ไทยต้องคว้า โอกาส ดึงดูดแรงงาน กลุ่มนี้อยู่เป็น กำลังสำคัญ พัฒนาท้องถิ่น เพื่อพัฒนา ภาคเกษตร ในระยะข้างหน้า จากการสัมภาษณ์ มุมมอง เกษตรกร ยุคใหม่ของ ธปท. เพื่อสำรวจ แนวทาง ปรับตัว ในยุคโควิด 19 ต่างเห็นว่า เป็นโอกาสที่ดี หากแรงงาน คืนถิ่น เลือกภาคเกษตร เป็นอาชีพ “ทางเลือก ทางรอด” ไปสู่การเป็น เกษตรกรยุคใหม่ หรือผู้ประกอบการ เกษตร (Agripreneur) เพื่อปรับตัว ให้พร้อมรับโอกาส ท่ามกลาง ความเปลี่ยนแปลง

เคล็ดลับการปรับตัวเข้าสู่เกษตรยั่งยืน ด้วยคนยุคใหม่

หลายคน ที่ยังไม่มี ประสบการณ์ คงกังวลว่า ผลลัพธ์ ในการทำ เกษตร จะเป็นอย่างไร เนื่องจาก ยังมีข้อจำกัด ทั้งความรู้ ความสามารถ และปัจจัย การผลิต ผู้เขียน ขอแบ่งปัน เคล็ดลับ ในการทำเกษตร ที่ได้รับ โดยตรง จากตัวอย่าง เกษตรกร สรุปได้คือ การพัฒนาอาชีด 4 ขั้น เพื่อเสนอ เป็นทางออก ปลดล็อก ข้อจำกัด แต่อย่างไร ก็ดี การเริ่มต้น ด้วยทัศนคติ และแรงบันดาลใจ ที่ดีต่อ ภาคเกษตร จะช่วยให้ ก้าวข้าม ข้อจำกัดได้เร็วมากขึ้น เช่น ยินดีที่จะ ทำงานกลางแจ้ง และลงมือทำ ด้วยตนเอง

บันได ขั้นแรก “เรียนรู้” เนื่องจากเรา ยังมีข้อจำกัดอยู่ “ควรคำนึง ถึงความอยู่รอด เป็นสำคัญ” การเริ่มต้น ด้วยการศึกษา เคล็ดลับ และบทเรียน จากผู้อื่น มาลงมือทำ ด้วยตนเอง “โดยไม่ด่วน ตัดสินใจ ทำอะไร ตามกระแส” จะทำให้เกิด ประสบการณ์ตรง หากยังมี ข้อจำกัด ด้านพื้นที่ เพาะปลูก อาจเริ่มจาก พื้นที่ขนาดเล็ก เงินลงทุนน้อยๆ หรือหากไม่มี ที่ดิน เป็นของตนเอง การขอ แบ่งเช่า จากญาติพี่น้อง จากเพื่อนบ้าน หรือขอ ผู้นำชุมชน ใช้ประโยชน์ ที่ดินสาธารณะ ถือเป็นทางออก ที่น่าสนใจ

บันได ขั้นที่ 2 “พัฒนาทักษะ” เมื่อเรามี ความพร้อม ในการทำเกษตรแล้ว ควรเลือก ตัดสินใจ ทำในสิ่ง ที่ตนเองชำนาญ เพื่อยกระดับ ทักษะฝีมือ ไปสู่อาชีพหลัก สร้างรายได้ อย่างต่อเนื่อง เช่น เลือกปลูกพืช หรือ เลี้ยงสัตว์ ที่ตนเองถนัด เป็นต้น

บันได ขั้นที่ 3 “ขยับขยาย” ต่อยอด ไปสู่การทำ เกษตรเชิงพาณิชย์ โดยใช้ เทคโนโลยี ร่วมกับ การปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ ในขนาดปริมาณ ที่มากขึ้น หรือเน้นที่ คุณภาพ เพื่อพลิกบทบาท ก้าวไปสู่ ผู้ประกอบการเกษตร (Agripreneur) ที่มีทั้ง ความรู้ด้านเกษตร และสามารถ วางแผนการผลิต ให้สอดคล้อง กับความต้องการ ของตลาดได้อย่างเหมาะสม

บันได ขั้นที่ 4 “ยั่งยืน” เมื่อเรา สามารถสร้างฐานะ จากการทำ เกษตรได้แล้ว ควรที่จะ วางแผน ให้อยู่รอด อย่างยั่งยืน เพื่อสร้าง ความเข้มแข็ง และอำนาจ ต่อรอง เพิ่มความสามารถ ในการเข้าถึง ตลาดได้ ในระยะยาว เช่น การรวมกลุ่ม ก่อตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชน” เป็นต้น

บันได 4 ขั้น การเรียนรู้

บันได ขั้นแรก ของบันได 4 ขั้น คือการเรียนรู้

เกษตรกรยุคใหม่ มีช่องทางการเรียนรู้ได้หลายช่องทางมาก เริ่มต้นแบบง่ายที่สุด ไปยากที่สุด ได้ดังนี้

  • เริ่มต้นการเรียนรู้ จากประสบการณ์ของพ่อแม่ ซึ่งท่านเรียนรู้มาทั้งชีวิต จากการลงมือทำ และอย่าได้ดูแคลน วิธีต่างๆ ที่ท่านทำเชียวนะ ทุกอย่างล้วนมีปรัชาญา อยู่ในตัว ทั้งนั้น ตัวอย่างเช่น ห้ามปลูกกล้วย ในฤดูเข้าพรรษา เพราะว่าพื้นที่เพราะปลูกเดิมๆ ของท่าน ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม และช่วงเข้าพรรษาเป็นฤดูฝน ที่มีฝนตกชุก อีกทั้งกล้วยไม่ชอบน้ำขัง จะทำให้รากเน่า ในปัจจุบัน เกษตรกรยุคใหม่หลายท่าน พากันถกเถียงเรื่องนี้มาตลอด ซึ่งทราบเหตุผล และเรามีวิธีป้องกัน ก็ปลูกได้นั่นเอง
  • รวมทั้งเรียนรู้ จากเพื่อนตนเอง เพื่อนบ้าน เพื่อนในกลุ่มต่างๆ ในโลกออนไลน์ ก็สามารถเรียนรู้กันได้ สอบถามกันได้ ซึ่งแต่ละคนก็มีประสบการณ์แตกต่างกัน นำความรู้มาแบ่งปันกันได้ โดยเฉพาะการเรียนรู้จาก Youtube.com ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ใหญ่มาก การเรียนรู้ที่นี่ ไม่มีวันสิ้นสุด เพียงแต่เลือกหัวข้อที่ถูกใจ ผู้ถ่ายทอดที่เราศรัทธา ก็หาความรู้ได้ อย่างง่ายดาย
  • สุดท้ายเรียนรู้ ด้วยการลงมือทำ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ยากที่สุด แต่เป็นการเรียนที่รู้แจ้ง เห็นจริงที่สุด เช่น เราไม่เคยรู้เลยว่า การขุดหลุมปลูกต้นไม้ 50x50 เซ็นติเมตร มีเหตุผลอย่างไร เมื่อได้ลงมือทำจึงรู้ว่า ขุดหลุมใหญ่เกินไปเราก็เหนื่อย แคบเกินไป เวลารดน้ำจะทำให้น้ำไหลไปที่อื่นได้ ไม่อยู่ที่โคนต้นไม้ที่เราปลูก ลึกเกินไปก็ทำให้เหนื่อย แถมยังต้องกลบคืนอีก แต่หากตื้นเกินไป ก็ทำให้โคนต้นไม้ตื้น และล้มง่ายนั่นเอง

เกษตรกรยุคใหม่ มีช่องทางการเรียนรู้มากมาย แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ มีเพียงส่วนน้อยที่ไปเรียนรู้จาก โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่มัก เป็นการเรียนรู้เรื่องของการ ต่อยอดมากกว่า แต่สถาบันการศึกษา ก็ยังคงเป็นแหล่งความรู้ชั้นเลิศ ที่เราสามารถเข้าไปหาความรู้ได้ หากมีความตั้งใจจริง เราใช้เวลาไม่นานจาการเรียนรู้นี้ และไปทดลองลงมือทำได้เลย

บันได 4 ขั้น การพัฒนา

บันได ขั้นที่ 2 ของบันได 4 ขั้น คือการพัฒนาทักษะ

การพัฒนาทักษะ จะเกิดขึ้นเมื่อเราผ่านการเรียนรู้ และลงมือทำมาแล้ว หมายถึงเรามีทักษะแล้ว นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทักษาะความรู้ของเรา เป็นแบบต้นไม้ คือ 4 ขั้นตอน คือ

  • ทักษะ เรื่องการปลูก
    เรื่องการปลูก มักเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้เรื่องดิน ปุ๋ย น้ำ พันธุ์ โดยมักเป็นที่ชื่นชอบของผู้ปลูก หรือตลาดต้องการ
  • ทักษะ เรื่องการบำรุง และป้องกัน
    เรื่องการบำรุง เรามักเรียนรู้ และพัฒนาเรื่องของ ปุ๋ย สารเคมี สารชีวภาพ การป้องกันโรค และการกำจัดศัตรูของพืช ซึ่งทุกขั้นตอนมีความซับซ้อนและยุ่งยากพอสมควร กว่าจะได้ผลผลิต
  • ทักษะ เรื่องการจำหน่าย
    การจำหน่าย เป็นการเรียนรู้ที่ปลายทาง แต่ยังไม่ได้เป็นขั้นตอนสุดท้ายเลยทีเดียว เพราะอาชีพเกษตรกรรม การจำหน่ายเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด และยอมแพ้กันมาตลอด ตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย แล้ว ไม่ว่าจะปลูกพืชชนิดไหน มักต่ายที่พ่อค้าคนกลางเปนคนกำหนดทั้งสิ้น เมื่อรู้แล้ว การพัฒนาเรื่องการจำหน่าย ของเกษตรกรยุคใหม่ เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง และควรพัฒนาให้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง
  • ทักษะ เรื่องการแปรรูป
    ขั้นตอนสุดท้าย ในห่วงโซ่การผลิตเพื่อจำหน่าย การแปรรูปเกิดจากเหตุผล หลายประการ เช่น ผลผลิตมากเกินกว่าที่จะจำหน่ายได้หมด ผลผลิตมีอายุสั้น ผลผลิตราคาถูกเกินไป หรือที่เลวร้ายที่สุดคือ ผลผลิตขายไม่ได้ นั่นเอง เมื่อเราได้พัฒนาทักษะ เรื่องการแปรรูปได้แล้ว ก็จะกลับที่ไปที่การจำหน่ายอีกครั้ง เป็นอย่างนี้วนเวียนกันไป

การพัฒนาทักษะ ของเกษตรกรยุคใหม่ มีทั้งประสบผลสำเร็จ และล้มเหลว ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือความมุ่งมั่น ของตัวเกษตรกรเอง หลายท่านจินตนาการไว้สูง คาดว่าผลผลิตที่ได้ จะทำกำไงาม แต่เมื่อได้ผลผลิตกลับมีราคาตกต่ำ จึงขอให้เริ่มต้นอย่างพอเพียง ปลูกหลายอย่าง ทำหลายแปลง เรียนรู้ไปพร้อมกัน นั่นแหละคนยุคใหม่

บันได 4 ขั้น การขยับขยาย

บันได ขั้นที่ 3 ของบันได 4 ขั้น คือการขยับขยาย

เมื่อได้เรียนรู้ ลงมือทำ และมีการพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว คนทั่วไปมักพัฒนาตนเอง ด้วยการขยายกิจการ เหมือนดั่งธุรกิจ ทั่วไป แต่ในอาชีพเกษตรของคนรุ่นใหม่ สิ่งที่ควรมองเรื่องการขยัขยาย ควรมองเรื่องการเพิ่มมูลค่า ของผลผลิต หรือของตนเอง โดยใช้พื้นที่เท่าเดิม เวลาเท่าเดิม สร้างรายได้มากขึ้น แนวคิดนี้ทำได้อย่างไร

  • เพาะพันธุ์ขาย
    หากยังยืนยันจะเดินหน้าต่อไปเพียงลำพัง การขยายกิจการด้วยการเพาะพันธุ์ขาย เป็นวิธีสร้างรายได้เพิ่ม ได้ดีทีเดียว แต่ท่านควรได้รับการยอมรับมาสักระยะแล้ว ในเรื่องของความเชี่ยวชาญ หรืออัจฉริยะ จะทำให้การเพิ่มรายได้ทำได้ง่ายทีเดียว เพราะมีความรู้ เรื่องปลูก เรื่องการบำรุงและป้องกัน การจัดจำหน่าย อีกทั้งได้มีการพัฒนาทักษะ มาแาเป็นอย่างดี ทำให้ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี
  • ให้ความรู้
    เกษตรกรยุคใหม่หลายท่าน เลือกขยับขายด้วยการเป็นผู้ให้ความรู้ บางท่านไปบรรยายให้ความรู้ บางท่านเปิดแปลงปลูก เป็นศูนย์เรียนรู้ ซึ่งท่านที่มีประสบการณ์สูงเหล่านี้ มีคุณสมบัติมากพอ ที่จะขยับขยายได้ด้วยวิธี่นี้
  • ดูแลเครือข่าย
    และยังมีเกษตรกรยุคใหม่อีกหลายท่าน ขยายรายได้ด้วยการจัดหาเครือข่าย เข่น นาย ก ปลูกผักบุ้งปลอดสารพิษ จำหน่ายตรงให้แก่ร้านก๋วยเตี๋ยว และร้านก๋วยเตี๋ยวก็ได้ประโยชน์จากผักของนาย ก จึงทำให้กิจการขยายมากขึ้น แต่นาย ก ไม่มีที่ดินที่จะปลูกเพิ่ม รวมทั้งไม่มีแรงงานอีกด้วย จึงเชิญชวนเพื่อนๆ มาร่วมกันปลูก โดยมาเรียนรู้จากนาย ก และเก็บผลผลิตส่งให้นาย ก อีกต่อหนึ่ง วิธีนี้เป็นวิธีที่ยั่งยืนที่สุด ในระบบเกษตรเชิงพาณิชย์

การเกษตรแบบพอเพียง เป็นการเรียนรู้จนเกิดความชำนาญ พัฒนาทักษะจนเป็๋นผู้เชี่ยวชาญ และผลผลิตสามารถควบคุมคุณภาพ และปริมาณได้อย่างดี ก็ไม่จำเป็นต้องขยายพื้นที่ปลูก เพื่อหารายได้เพิ่ม เพียงแต่ใช้ทักษะที่มี สอนผู้อื่นให้นำไปใช้ได้ เป็นการแบ่งปันประโยชน์ ซึ่งสุดท้ายผลประโยชน์ก็กลับมาที่เรานั่นเอง เพียงแต่อย่าโลภมาก จนทำให้ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้ก็พอ

บันได 4 ขั้น ความยั่งยืน

บันได ขั้นที่ 4 ของบันได 4 ขั้น คือความยั่งยืน

ความหมายของความยั่งยืนในเชิงธุรกิจ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ คือการมีรายได้สม่ำเสมอ เป็นประจำ ด้วยการทำงานเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยนั่นเอง ในอาชีพเกษตรกรรม เมื่อเราเติบใหญ่ จนกลายเป็นเกษตรเชิงพาณิชย์แล้ว สิ่งที่ควรทำเพื่อความยั่งยืน จำเป็นทุกเรื่อง ทุกขั้นบันได ที่ผ่านมา เชียวแหล่ะ

  • ควบคุมตนเองให้อยู่ในบรรทัดฐานเดิม
    เมื่อความต้องการมากขึ้น และเราสามารถผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นได้ รายได้ก็มากขึ้น สิ่งแรกที่ทำให้ได้ คือ ควบคุมตนเอง ไม่โลภ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ให้ย้อนกลับไปมองเส้นทางที่เราผ่านมา บางคนสอนเราฟรีๆ เพื่อให้เราได้เกิด แต่ทำไมเราสอนคนอื่น ต้องมีค่าจ้างทุกครั้ง จริงๆ แล้ว สอนกันฟรีๆ บ้างก็ไม่ได้เสียอะไรไป
  • บริหารจัดการการผลิตให้คงที่ทั้งคุณภาพ และปริมาณ
    เราต้องจัดการกับการผลิตให้คงที่ให้ได้ ในขณะที่มีกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเข้ามามากมาย สิ่งที่ต้องใช้ในการจัดการเรื่องนี้ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมาย ซึ่งอาจต้องลงทุนบ้าง แต่ความคุ้มค่านั้นมากพอกับต้นทุกที่เสียไป อย่างแน่นอน ขอให้เรียนรู้ให้ถ่องแท้ ก่อนเลือกใช้ระบบใดๆ ให้ดีพอ
  • บริหารจัดการตลาด ให้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น
    ในช่วงเวลาปกติ เราเป็นผู้ผลิตปกติ เรามักทราบดีว่า ความต้องการของตลาดแต่ละช่วง เป็นอย่างไรควรจัดการกับผลผลิต ให้มีปริมาณเพียงพอตลอดเวลา เช่น สะตอ จะให้ผลผลิตตามฤดูการ แต่การเก็บรักษาสตอให้มีขายนิกฤดู เป็นสิ่งท้าทาย แต่สุดท้ายก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะดองน้ำเกลือ ต้มแล้วแพ็คสูญญากาศนำไปแช่แข็ง พัฒนาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตทั้งปี เป็นต้น
  • รวมกลุ่ม เพื่อบริหารความเสี่ยงของรายได้
    การวมกลุ่ม เป็นเรื่องจำเป็นของทุกธุรกิจ เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณ ราคาของผลผลิต ซึ่งทำให้เกษตรกรยุคใหม่ มีรายได้ที่ยั่งยืน ตัวอย่างเช่น การรวมกลุ่มทำเครื่องแกงขาย โดยแบ่งกันปลูกเครื่องเทศ สมุนไพร ต่างชนิดกัน แล้วนำมารวมกันเพื่อปรุงเป็นเครื่องแกง เป็นต้น เพื่อกระจายความเสี่ยง และลดต้นทุนในการเริ่มต้น
  • สร้างคนรุ่นใหม่ ให้เดินตามในแนวทางที่ถูกต้อง
    สิ่งสำคัญประการสุดท้าย ไม่ว่าอาชีพไหน คนสืบทอดจำเป็นต้องมี โดยเฉพาะปราชญ์เกษตรทั้งหลาย จำเป็นต้องมีศิษย์เอก เพื่อสืบทอดความรู้ ในความเป็นจริงการประกอบอาชีพ ไม่ได้มีแค่ความรู้เพียงอย่างเดียว แต่มีเคล็ดลับมากมายที่ถ่ายทอดได้ไม่หมด จึงจำเป็นต้องมีการสร้างคนรุ่นใหม่ มาแทนคนรุ่นเก่า โดยเรียนรู้จากคนรุ่นเก่า ผสมกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ กลายเป็นปราชญ์คนใหม่ได้นั่นเอง
บันได 4 ขั้น การรวมกลุ่ม

เกษตรกรยุคใหม่ หัวไวใจกล้า “ทำด้วยใจรัก รู้จักใช้ เทคโนโลยี” คือ เคล็ดลับ ความสำเร็จ

บทสรุป ที่ได้จาก กรณีศึกษา พบว่า ชีวิต เกษตรกรยุคใหม่ บางท่าน ก็เริ่มจากศูนย์ ไม่มีที่ดิน ของตนเอง ตัดสินใจ ขอผู้นำชุมชน ใช้ประโยชน์ จากพื้นที่ รกร้างสาธารณะ มาทำเกษตร ขอยกตัวอย่าง จากกรณีศึกษาของ คุณตั้ม จตุรภัทร ที่เริ่มต้นจาก การปลูกพืช ผักสวนครัว ขายเลี้ยงชีพ หลังจากที่ ชำนาญแล้ว จึงต่อยอด ด้วยการทดลอง “ปลูกพืช มูลค่าสูง ตามความถนัด” พร้อมกับ อัดคลิปสั้นๆ แบ่งปัน วิธีปลูก พืชจนเป็นตัวอย่าง ที่ดีให้แก่ ชุมชน [FB: จตุรภัทร ฟาร์มสุขปลูกอินทรีย์]

ขณะที่ บางท่าน อยากสร้าง รายได้ หลายช่องทาง จากกรณีศึกษาของคุณปอนด์ จีรพงษ์ ที่เริ่มทำ การเกษตร พร้อมกับภรรยา ตั้งแต่เรียนจบ ด้วยการเลี้ยงสุกร ปลูกเมล่อน ในโรงเรือน พร้อมกับ ทำคลิปเผยแพร่ วิธีการทำเกษตร ผ่าน youtube มีผู้ติดตาม กว่า 246,000 คน นอกจาก สามารถเพิ่ม ช่องทางจำหน่าย มากขึ้นแล้ว ยังมีรายได้ เสริมที่ดี จากค่าโฆษณา อีกทางหนึ่ง [FB: ปอนด์ ฟาร์มมิ่งไทยแลนด์]

บางท่าน ที่มีใจรัก เป็นเกษตรกร แต่ก็ยัง ไม่กล้าเสี่ยง ที่จะทุ่มสุดตัว จากกรณีศึกษา ของคุณกระต่าย วุฒิพงษ์ ที่เริ่มต้นจาก “แบ่งเวลา งานประจำ” มาทำ เกษตรอินทรีย์ เก็บหอม รอมริบ จนสามารถ ซื้อที่ดิน เป็นของตนเอง จึงตัดสินใจ ลาออกมาทำ เต็มเวลา จนสามารถ ปลูกผัก สร้างรายได้ ขายให้กลุ่ม คนรักสุขภาพ [FB: ไทบ้านฟาร์มเมอร์]

สำหรับ แรงงาน คืนถิ่น ที่ตัดสินใจ ทำเกษตร เป็นทางรอด จากกรณีศึกษา ของคุณแม้ว เพียงพิศ ซึ่งเคยเป็น พนักงาน ในร้านอาหาร บนเกาะสมุย ที่ได้รับ ผลกระทบ จากโควิด 19 จนปิดกิจการ จึงต้องกลับ มาตั้งหลัก ที่บ้านเกิด ด้วยอาชีพ เกษตร และได้มี โอกาส เข้าร่วม โครงการ “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” ของ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จากเดิม ที่เคยเลี้ยงไก่ ปล่อยตาม ธรรมชาติ เกิดเป็นไอเดีย ที่จะขยายทำเป็น โรงเรือนเลี้ยง ไก่ระบบปิด

บันได 4 ขั้น การสนับสนุนของภาครัฐ

การสนับสนุนของ ภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญ

นอกจาก เคล็ดลับ ในการทำเกษตร แล้ว หากภาครัฐ ยื่นมือช่วยเหลือ เกษตรกรป้ายแดง เสริมจุดแข็ง ปิดจุดอ่อน เป็นต้นว่า การสร้างตลาด ดีๆ มารองรับ ผลผลิต ในระยะแรก คลายความกังวลว่า ผลิตแล้ว จะไปขายที่ไหน โดยสนับสนุน ให้หน่วยราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล หรือเรือนจำ มีระเบียบ จัดซื้อสินค้า เกษตร ไปประกอบอาหาร จากนั้น ก็ส่งเสริม ให้เรียนรู้ วิธีสร้าง ช่องทาง การขาย เช่น การตลาด ออนไลน์ และออฟไลน์ ควบคู่ไป กับการถ่ายทอด เคล็ดลับดีๆ ในการทำ เกษตรแบบง่าย เพื่อเป็น ทางลัด ความสำเร็จ “เหมือนบะหมี่ กึ่งสำเร็จรูป ที่ฉีกซอง เติมน้ำร้อน ก็รับประทาน ได้เลย” เพราะการ ลองผิด ลองถูก ด้วยตนเอง อาจจะหมด กำลังใจ รัฐควร ช่วยเหลือ เป็นพี่เลี้ยง ให้สุดทาง “การปล่อย เต่าต้องปล่อย ให้ถึงหนอง” เพราะหลาย โครงการ ยังมีการรับรู้ ในวงแคบ และขาดความ ต่อเนื่อง เกษตรกร กำลังเรียนรู้ ได้ดี แต่ยังไม่สามารถ พึ่งพาตนเองได้ โครงการ ก็หมดระยะเวลา ท้ายสุด ปัจจัย ที่ต้องให้ ความสำคัญ ยิ่ง คือ แหล่งน้ำ “ลมหายใจ ของเกษตรกร” รัฐควร ช่วยให้ เกษตรกร เข้าถึงแหล่งน้ำ มากที่สุด โดยการ ช่วยขุดสระน้ำ  “บ่อจิ๋ว” หรือขุดลอก ลำห้วย เป็นช่วงๆ แบบ “หลุมขนมครก” และวางแผน จัดการน้ำ แบบครบวงจร

บันได 4 ขั้น เป็นทฤษฎีที่มีคนทำตาม และประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย ทั้งในระบบธุรกิจการเงิน อุตสาหกรรม แต่วันนี้เราพูดถึงอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งก็สามารถนำ บันได 4 ขั้นนี้ ก้าวขึ้นไปหาฝัน เพื่อรับรางวัลแห่งความสำเร็จได้ เช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ

ผู้เขียน : 
พิทูร ชมสุข
จิราภรณ์ พินนาพิเชษฐ
เพชรลักษณ์ บุญญาคุณากร
ฝ่ายนโยบาย โครงสร้างเศรษฐกิจ

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย

แชร์ได้นะ!

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Shopping Cart