ฟาร์ม ยุคใหม่

ฟาร์ม อัจฉริยะ ด้วยนวัตกรรมเกษตรยุคใหม่

ฟาร์ม ยุคใหม่

เกษตรกรยุคใหม่ ได้รับการสนันสนุน คิดค้น และพัฒนา โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA  หน่วยงานหลักด้านการส่งเสริมระบบนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยยกระดับการพัฒนาสินค้าเกษตรให้ก้าวเข้าสู่ระบบอัจฉริยะ ช่วยให้การบริหารจัดการกลายเป็นเรื่องง่าย ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลผลิต รวมทั้งแก้ปัญหาการตลาดไปพร้อมกัน ตอบโจทย์ การเกษตรยุคใหม่ (Smart Farmer) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฟาร์ม ยุคใหม่ ของคนยุคใหม่ ต้องการการส่งเสริม แทนการเยียวยาแล้วนะ !!
จากเดิมรัฐบาล และนักการเมือง ต่างมองพวกเราเป็นเพียงแรงงานในภาคการเกษตร ที่ไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถด้านการตลาด แต่หลังจากการระบาดของ โรคโควิด 19 ทำให้เกิดแรงงานคืนถิ่นจำนวนมาก และจากการถูกบังคับจากหนี้สิน รวมทั้งการจัดการชีวิตประจำวันไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไปกับโรคระบาด จึงมีคนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมยุคใหม่เพิ่มขี้นจำนวนมาก เป็นคนออนไลน์ ไม่พึ่งพารัฐบาล ไม่พึ่งพิงนัการเมือง อีกต่อไป

เกษตรยุคใหม่ ในสายตาของผู้เขียน???

ผู้เขียนเป็นหนึ่งในแรงงานคืนถิ่นเช่นเดียวกับคนไทยทั้งประเทศ จากการทำงานออนไลน์ เปลี่ยนเป็นจับจอบขุดดินเป็นครั้งแรก กรีดยางเป็นครั้งแรก เพาะพันธุ์ต้นไม้เป็นครั้งแรก เรื่องทั้งหลายดูยุ่งยากแทบทั้งสิ้น แต่เมื่อได้ลงมือทำจึงได้รู้กระบวนการทำให้การทำงานง่ายมาก กระบวนการเหล่านี้คือ

  1. เริ่มต้น การเริ่มต้นของผู้เขียนจากวิธีง่ายที่สุด ทำในสิ่งที่ลงทุนน้อยที่สุดเพื่อเปลี่ยนเป็นรายได้ เริ่มด้วยการสับเปลือกมะพร้าวขาย เพราะที่บ้านขายกะทิสดและมีเปลือกมะพร้าวแห้งจำนวนมาก รวมทั้งมีเครื่องสับกิ่งไม้อยู่แล้วจึงนำมาใช้เพื่อเปลี่ยนเป็นรายได้ แต่งานก็ไม่ได้ราบรื่นตามที่อยากให้เป็น เพราะเครื่องสับกิ่งไม้ไม่สามารถสับเปลือกมะพร้าวให้เป็นชิ้นเล็กได้ แถมยังติดขัดตลอดเวลาอีกด้วย จึงหันไปใช้เครื่องหั่นผักที่มีอยู่เดิมมาหั่นแทน ทำให้ผลออกมาดีกว่าเดิมแต่ได้ผลผลิตน้อยมากแทบไม่คุ้มกับค่าไฟฟ้าที่ใช้ไป สุดท้ายพัฒนาด้วยการใช้งานควบคู่ของเครื่องจักรทั้งสองเครื่อง ทำให้ได้ผลผลิตเป็น ขุยมะพร้าว จากเดิมปรารถนาจะได้เป็นเปลือกมะพร้าวสับซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด กลับได้เป็นขุยมะพร้าวแทนซึ่งตลาดแคบกว่าแต่มีราคาแพงกว่า ประจวบเหมาะกับวงการปลูกเมล่อนกำลังเป็นที่นิยมจึงทำให้ขายได้บ้าง
  2. พัฒนาอาชีพ เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ จึงต้องพัฒนาสินค้าใหม่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีขายได้ จึงเกิด ตุ้มตอนกิ่ง ขุยมะพร้าวบรรจุถุง และดินปลูกผสมขุยมะพร้าว ตลอดระยะเวลา 6 เดือน การพัฒนาเป็นไปอย่างกระตือรือร้นและสนุกสนาน ผู้เขียนได้มีโอกาสตอนกิ่งไม้ด้วยตุ้มตอนกิ่งของตัวเอง จนเกิดการรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้การตอนกิ่งไม้ สายพันธุ์ต่างๆ จากง่าย ไปยาก และปัจจุบันมีการขยายพันธุ์ มะกรูด มะนาว กันอย่างสนุกสนาน
  3. ขยับขยายอาชีพ เมื่อทุกอย่างลงตัวก็เริ่มมีการทำงานเป็นระบบ ผู้เขียนจึงมีเวลาว่างเพิ่มขึ้นทำให้ได้เรียนรู้วิธีกรีดยาง และการทำสวนยางพาราของตนเอง รวมทั้งการนอนให้หลับเร็วและตื่นตอนเช้ามืดเพื่อไปกรีดยาง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จจึงต้อไปกรีดยางก่อนนอนและตื่นสายแทน การขยายอาชีพยังนำไปสู่การเรียนรู้การเพาะพันธุ์ ไม่ว่า ผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ตั้งแต่เริ่มด้วยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การเสียบยอด การปลูก การเร่งการเจริญเติบโต ตัวอย่าง มะละกอ ผู้เขียนซื้อมะละกอสุก มากินเนื้อ และนำเมล็ดไปล้าง ตากแดด แข่น้ำ เพาะพันธุ์ ปลูก เร่งการเจริญเติบโต จนได้ผลผลิตและได้พบอุปสรรคมากมายจากการปลูกมะละกอ
    ทั้งเป็นโรคใบเหลือง รากเน่า ไม่ติดดอก ดอกร่วง ลูกเล็ก ไม่ดก ซึ่งปัจจุบันยังทำได้แค่ระดับประถม คือได้ผลผลิตบ้าง แต่ไม่ได้มากเหมือนมืออาชีพ แต่ลูกใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และมีรสชาดดีขึ้นมาบ้าง
    การเรียนรู้ในช่วงนี้นี่เองทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของอาชีพเกษตร จากอดีตที่มุ่งผลิตเป็นสำคัญ แต่ในโลกแห่งความจริงการขายสำคัญกว่าการผลิตเสียอีก เช่น การปลูกมะละกอ ด้วยตนเองทำให้การเข้าสังคมน้อยลง และใช้เวลากับต้นมะละกอมาก เรียนรู้จากโลกออนไลน์มาก แต่เอาเข้าจริงสู้พ่อค้ารับซื้อมะละกอไม่ได้เลย พ่อค้าไปทุกสวน รู้ได้ว่าผลผลิตใน 2-3 เดือนข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ขณะนี้โรคระบาดมากน้อยแค่ไหน สายพันธุ์อะไรที่ทนต่อโรคและให้ผลผลิตมาก การเรียนรู้จากคนอาชีพเดียวกันนี่เองคือคำตอบของเกษตรกรยุคใหม่ ซึ่งผู้เขียนได้เข้าร่วมกลุ่มหลายๆ กลุ่มที่ตนเองอยากเรียนรู้และอยากได้เพื่อนร่วมอาชีพมาแชร์ประสบการณ์ รวมทั้งวางแผนการเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนร่วมกลุ่มเหล่านี้ เพื่อหาเทคนิคและไอเดียร่วมกัน นั่นหมายถึงความสนิทสนมและไว้เนื้อเชื่อใจกันในอนาคต ซึ่งผู้เขียนคิดว่าการรวมตัวการจัดตั้งสหกรณ์ของแต่ละอาชีพคงจะเกิดขึ้นมากมายในอนาคตอันใกล้นี้
  4. ความยั่งยืนของอาชีพ ผู้เขียนได้เรียนรู้การทำอาชีพเกษตรกรรมได้แล้ว ได้มีการขยายขอบเขตการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งการเข้าร่วมเครือข่ายเพื่อสร้างกลุ่มและความร่วมมือจากผู้รู้ท่านอื่นๆ จากประสบการณ์ดังกล่าวนี้ คิดว่าการประกอบอาชีพไม่ยากเลย แต่การจะมีรายได้มากพอเลี้ยงครอบครัวตลอดไป หรือความมั่นคงทางรายได้จากอาชีพเกษตรกรรมมองเห็นได้ง่าย หากจะทำให้ได้ต้องทำเป็น และทำเป็นประจำ
    ยกตัวอย่างเช่น การปลูกล้วยด่างเพื่อขาย ซึ่งเราทราบดีว่ากล้วยด่างมีราคาแพง เพราะมีความแปลกจึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หากเราจะยึดเป็นอาชีพควรซื้อหน่อกล้วยที่เป็นต้นเล็กราคาไม่มากจนเกินไป การปลูกกล้วยใช้เวลาเพียง 8 เดือน กล้วยจะออกหน่อเพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งกล้วยหน่อเดียวในเวลาสองปี เราจะได้หน่อกล้วยเป็นสิบหน่อ หากเราซื้อหน่อกล้วยในราคา หนึ่งแสนบาท โดยไม่ขายเลยเป็นเวลาสองปี และขายไปในราคาหน่อละหนึ่งหมื่นบาท สิบหน่อกล้วยได้เงินหนึ่งแสนบาทที่เราลงทุนคืนกลับมา แต่เรายังมีต้นกล้วยที่พร้อมจะออกหน่อ และขยายพันธุ์เพิ่มได้เรื่อยๆ
    เพียงแต่ในระหว่างสองปีที่รอขายหน่อกล้วย เราต้องหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวให้ได้อย่างเพียงพอ หากเราสามารถเอาตัวรอดไปได้ในสองปีนี้ เราก็จะเป็นคนที่มีรายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างแน่นอน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นได้เราก็สามารถยึดอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน

สมร์ทฟาร์ม คืออะไร

ขอบคุณข้อมูลจาก Smart Farm DIY

สมาร์ทฟาร์ม เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในการทำอาชีพเกษตรกรรมในประเทศไทยในอนาคน เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย) เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและพัฒนาภาคการเกษตรให้ยั่งยืนในอนาคต  โดยรายละเอียดที่น่าสนใจ มีดังนี้

นวัตกรรมเกษตรยุคใหม่ หรือ สมาร์ทฟาร์ม เป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบใหม่ที่จะทำให้การทำไร่ทำนามีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำข้อมูลของภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นที่ย่อย (Microclimate) ระดับไร่ (Mesoclimate) และระดับมหภาค (Macroclimate) มาใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลฟาร์มเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต โดยได้รับการขนานนามว่า เกษตรกรรมความแม่นยำสูง หรือ เกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเริ่มแพร่หลายเข้าไปในหลายประเทศ ทั้งยุโรป ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินเดีย

แนวคิดหลัก คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการพัฒนาทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ของกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรไปจนถึงผู้บริโภค เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิต ลดต้นทุน รวมทั้งพัฒนามาตรฐานสินค้า เป็นความพยายามยกระดับการพัฒนาเกษตรกรรม 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่

(1) การลดต้นทุนในกระบวนการผลิต
(2) การเพิ่มคุณภาพมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้า
(3) การลดความเสี่ยงในภาคเกษตร ซึ่งเกิดจากการระบาดของศัตรูพืชและจากภัยธรรมชาติ
(4) การจัดการและส่งผ่านความรู้ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศจากการวิจัยไปประยุกต์สู่การพัฒนาในทางปฏิบัติ และให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเกษตรกร ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ได้แก่

  • Global Positioning System (GPS) เป็นเทคโนโลยีในการระบุพิกัด หรือตําแหน่งบนพื้นผิวโลกโดยใช้กลุ่มของดาวเทียมจํานวน 24 ดวง ซึ่งโคจรรอบโลกในวงโคจร 6 วง ที่ความสูง 20,200 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก
  • Geographic Information System (GIS) เป็นเทคโนโลยีในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ แล้วนํามาแสดงผลในรูปแบบต่างๆ สามารถเก็บข้อมูลได้หลากหลายมิติ ซึ่งระบบ GIS ที่รู้จักกันดีคือ Google Earth
  • Remote Sensing หรือเทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกล เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลพื้นที่ โดยอาศัยคลื่นแสงในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น เรดาห์ ไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้น อุปกรณ์รับรู้เหล่านี้มักจะติดตั้งบนอากาศยาน หรือดาวเทียม
  • Proximal Sensing หรือเทคโนโลยีการรับรู้ระยะใกล้ อาศัยเซ็นเซอร์วัดข้อมูลต่างๆ ได้โดยตรงในจุดที่สนใจ เช็นเซ็นเซอร์ตรวจอากาศ (Weather Station) เซ็นเซอร์วัดดิน (Soil Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจโรคพืช (Plant Disease Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจวัดผลผลิต (Yield Monitoring Sensor) เป็นต้น เซ็นเซอร์เหล์านี้สามารถนํามาวางเป็นระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Sensor Network) โดยนําไปติดตั้งหรือปล่อยในพื้นที่ไร่นา เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ความชื้นในดิน อุณหภูมิ ปริมาณแสง และสารเคมี
  • Variable Rate Technology (VRT) หรือเทคโนโลยีการให้ปุ๋ย น้ำ ยาฆ่าแมลง ตามสภาพความแตกต่างของพื้นที่ โดยมักจะใช้ร่วมกับเทคโนโลยี GPS
  • Crop Models and Decision Support System (DSS) เป็นเทคโนโลยีที่บูรณาการเทคโนโลยีทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะทําอะไร เมื่อไร อย่างไร รวมถึงยังสามารถทํานายผลผลิตได้ด้วย
      สมาร์ทฟาร์ม ในประเทศไทยอาจมีข้อจำกัด เนื่องจากระบบเทคโนโลยีบางชนิดยังมีประสิทธิภาพไม่ดี เช่น ระบบ GPS และ GIS ต้องใช้เงินในการลงทุนสูง รวมถึงขาดความชำนาญในการใช้เครื่องมือ
       แต่เมื่อโลกเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ สังคม ตลอดจนองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ที่มีการแลกเปลี่ยนส่งผ่านกันอย่างรวดเร็วไปทั่วทุกภูมิภาค จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเองตามสภาพการดำเนินชีวิต การเปิดรับ เรียนรู้ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อพาตัวเองก้าวสู่การเป็นเกษตรกรที่มีคุณภาพ ด้วยนวัตกรรมเกษตรยุคใหม่ ตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ว่า การพัฒนาเกษตรกรให้เป็น สมาร์ทฟาร์มเมอร์ โดยมี Smart officer เป็นเพื่อนคู่คิด

ฟาร์มอัจฉริยะเริ่มยังไง? เริ่มด้วยการทำให้เป็นอัตโนมัติ จากกูรูตัวจริงคุณตุ้น “นักวิจัยเกษตรอัจฉริยะ”

สมาร์ทฟาร์ม
สมาร์ทฟาร์มเมอร์

ขอบคุณข้อมูลจาก Kaset Go

ถ้าพูดถึงกระแสทำเกษตรในยุค 2022 ก็คงจะหนีไม่พ้นกระแส “เกษตรอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทฟาร์ม” ปัจจุบันทั่วโลกรวมถึงในไทยต่างหันมาใช้เทคโนโลยีการเกษตร กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโดรน ระบบให้น้ำอัจริยะ หรือกระทั่งถุงห่อผลไม้ลดการใช้สารเคมี นวัตกรรมการเกษตรเหล่านี้มีประโยชน์มากมาย ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรในระยะยาว เพิ่มคุณภาพการผลิต และช่วยประหยัดแรงและเวลาด้วย

จากที่ Kaset Go ได้โพสต์วิดีโอเกี่ยวกับเกษตรกรต้นแบบ โดยคุณสุรพล จารุพงศ์ จากสวน Smile Lemon (ดูได้ที่นี่ ชื่อฟังดูยากจัง แล้วยากจริงไหม? ลองไปดูวิดิโอกันเลย!หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง สมาร์ทฟาร์ม ว่าจะช่วยให้การจัดการง่ายขึ้น ) พบว่าเพื่อนๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อยากจะเป็นอัจฉริยะกับเขาบ้างแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร? วันนี้ Kaset Go จะพาทุกคนมาดูวิธีเริ่มต้น “นวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่” แนะนำโดยคุณตุ้น นริชพันธ์ เป็นผลดี นักวิจัยด้านระบบเกษตรอัจฉริยะ (Nectec)

สมาร์ทฟาร์ม เริ่มยังไง?

ก่อนที่จะเริ่มทำนวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่ ได้นั้น คุณตุ้นขอบอกทุกคนเลยว่า “คุณต้องรู้จักพื้นที่ของคุณให้ดีเสียก่อน” เกษตรกรจะต้องสามารถตอบคำถาม 4 ข้อนี้ให้ได้ก่อนคิดจะเริ่มลงมือทำ เพื่อที่จะได้ช่วยวางแผนและออกแบบระบบอัจฉริยะให้เหมาะสมที่สุด

  1. จะปลูกอะไร? เช่น ปลูกมะเขือเทศ ปลูกทุเรียน ปลูกผักสวนครัว
  2. พืชที่ปลูกเป็นพืชชนิดใด? เช่น พืชสวน พืชไร่ พืชในโรงเรือน (เพราะพืชสวน พืชไร่ หรือพืชในโรงเรือนมีระบบการให้น้ำต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น พืชสวนใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกิลไม่สามารถให้ระบบน้ำหยดได้
  3. ใช้ระบบน้ำแบบใดอยู่? หรือรดน้ำแบบไหน? เช่น หากมีเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่รดได้ทั้งสวนก็ไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบ แต่ถ้าหากใช้ปั๊มเล็กๆ รดน้ำอยู่แล้วต้องเปิด-ปิดน้ำเอง แบบนี้จะสามารถติดตั้งระบบอัจริยะเพื่อให้มีการเปิด-ปิดน้ำอัตโนมัติได้ หรือแม้กระทั่งไม่ได้ใช้ระบบน้ำเลยก็ควรจะเริ่มจากการคำนวณปริมาณน้ำที่ต้องใช้กับอุปกรณ์ที่จะซื้อมาติดตั้ง
  4. รู้จักพืชที่ปลูกดีพอไหม เช่น หากปลูกทุเรียนควรรู้ว่าทุเรียนแต่ละต้นมีความต้องการน้ำต่อวันเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้คำนวณการติดตั้งระบบน้ำ และคำนวณการกักเก็บน้ำ

กรณีตัวอย่าง

“นายตุ้นจะปลูกมะเขือเทศในโรงเรือน 400 ต้น และยังไม่มีระบบให้น้ำเลย นายตุ้นจะต้องทราบก่อนว่ามะเขือเทศที่นายตุ้นปลูกมีความต้องการน้ำต่อวันเท่าไหร่ และควรจะใช้อุปกรณ์ใดที่เหมาะสมกับการให้น้ำในปริมาณนั้นๆ เช่น นายตุ้นไปศึกษาและพบว่ามะเขือเทศมีความต้องการน้ำต่อต้นคือ 2 ลิตรต่อวัน เท่ากับนายตุ้นต้องให้น้ำมะเขือเทศทั้งหมดวันละ 800 ลิตรและควรกักเก็บน้ำไว้อย่างน้อยสำหรับ 1 สัปดาห์ในช่วงหน้าแล้งเท่ากับ 5,600 ลิตร นายตุ้นก็ต้องไปดูต่อว่าอุปกรณ์แบบใดที่จะสามารถให้น้ำมะเขือเทศได้วันละ 800 ลิตร ซึ่งอาจจะเป็นระบบน้ำสปริงเกิลหรือระบบน้ำหยด รวมไปถึงถังเก็บน้ำที่สามารถบรรจุได้ 5,600 ลิตรเพื่อกักเก็บน้ำไว้ล่วงหน้า 1 อาทิตย์ (ในฤดูแล้ง)”

ขั้นตอนการทำ สมาร์ทฟาร์ม

  1. เกษตรกรต้องมีความรู้และความเข้าใจในพืชและการให้น้ำของพืช (ตามคำถาม 4 ข้อด้านบน)
  2. คำนวณจากอุปกรณ์ที่ตนเองมีอยู่เดิมว่าสอดคล้องกับการให้น้ำในพืชนั้นๆ ไหม เช่น ดูขนาดของปั๊มที่ตนเองมีอยู่ว่าสามารถให้น้ำได้เพียงพอต่อพืชทุกต้นไหม
  3. หากไม่เพียงพอต้องเรียนรู้การแบ่งโซน หรือการแบ่งเขตหรือแบ่งเวลาการให้น้ำให้เหมาะกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่
  4. วิเคราะห์อุปกรณ์ เทคโนโลยีเกษตรที่จะนำมาใช้ของคุณว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะควบคุมอุปกรณ์การให้น้ำที่เรามีอยู่เดิมไหม
  5. หากอุปกรณ์เทคโนโลยีเกษตรมีความสามารถเพียงพอก็สามารถติดตั้งโปรแกรมในการให้น้ำ การตั้งค่าเวลาต่างๆได้เลย แต่หากนวัตกรรมเกษตรนั้นๆ ไม่สามารถควบคุมได้เพียงพอ ก็อาจจะต้องหาอุปกรณ์หรือ เทคโนโลยีเกษตรอื่นที่เหมาะสมมากกว่า

กรณีตัวอย่าง

“หากนายตุ้นพอจะมีปั๊มขนาดเล็กอยู่เดิมที่บ้าน แต่ประสิทธิภาพในการให้น้ำของปั๊มตัวนั้นทำได้เพียงครั้งละ 100 ต้น แต่นายตุ้นมีมะเขือเทศที่ปลูกอยู่ตั้ง 400 ต้น นายตุ้นจะต้องแบ่งโซน หรือแบ่งเวลาในการให้น้ำเป็นครั้งละ 100 ต้น 4 ครั้ง ฉะนั้นนายตุ้นต้องมีวาล์วในการเปิด-ปิดน้ำทั้งหมด 4 ตัว จากนั้นนายตุ้นก็วิเคราะห์นวัตกรรมเกษตร ที่นายตุ้นจะนำมาใช้ในแปลงปลูกของตนว่าสามารถสั่งงานได้ 4 คำสั่งหรือไม่”

อุปกรณ์พื้นฐานในการทำ สมาร์ทฟาร์ม

  1. ระบบการให้น้ำ เช่น ปั๊มน้ำ สปริงเกิล ถังเก็บน้ำ ท่อน้ำ
  2. เทคโนโลยี หรือโปรแกรมที่จะเลือกใช้ควบคุมระบบการให้น้ำ เช่น เทคโนโลยีการเกษตร HandySense
  3. วาล์วไฟฟ้า เพื่อเปิด-ปิดระบบน้ำ
  4. เซนเซอร์เพื่อตรวจวัดค่าความชื้นของดิน

ขั้นตอนติดตั้งโปรแกรม สมาร์ทฟาร์ม

  1. การติดตั้งโปรแกรม สามารถให้ตัวแทนหรือบริษัทที่ขายเทคโนโลยีเกษตรนั้นๆ ช่วยติดตั้งหรือแนะนำอุปกรณ์ที่ต้องซื้อเพิ่มเติมได้ โดยการแจ้งข้อมูลของพืชและการให้น้ำที่เราทราบเป็นอย่างดีแล้ว (ตามคำถาม 4 ข้อด้านบนและการแบ่งโซน)
  2. เมื่อติดตั้งโปรแกรมแล้ว ควรเรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์ควบคุม (Control) เพื่อควบคุมการเปิดปิดของวาล์วไฟฟ้า อาจจะเป็นแอพลิเคชั่นในมือถือ เช่น HandySense
  3. การเลือกซื้ออุปกรณ์ จะต้องคำนึงถึงคุณภาพของอุปกรณ์ด้วย อุปกรณ์นั้นๆจะต้องมีการรับประกันอุปกรณ์หรือมีหน่วยงานที่คอยดูแลด้วย
  4. อุปกรณ์ที่คุณตุ้นแนะนำในการทำ คือ “ชนิดของวาล์วไฟฟ้า” จะต้องรู้ว่าควรมีวาล์วไฟฟ้ากี่ตัว ซึ่งจะสอดคล้องกับการแบ่งโซน ในการให้น้ำ เช่น *นายตุ้นมีการแบ่งโซน การให้น้ำมะเขือเทศ 400 ต้นเป็น 4 ส่วนเพราะอุปกรณ์สามารถให้น้ำได้ครั้งละ 100 ต้น ฉะนั้นนายตุ้นจะต้องมีวาล์วไฟฟ้า 4 ตัว เช่น วาล์วไฟฟ้าขนาด 2 นิ้วราคาประมาณ 2,500 บาท เป็นต้น
  5. ในช่วงแรกของการทำ สามารถให้น้ำตามเดิมไปก่อน เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ค่าความชื้นดิน (สามารถวัดได้โดยใช้เซนเซอร์) เพื่อนำไปข้อมูลไปตั้งค่าในโปรแกรม เช่น ก่อนติดตั้งโปรแกรม นายตุ้นทำการให้น้ำมะเขือเทศตามเดิมไปก่อนเป็นเวลา 30 นาทีเพื่อดูความชื้นในดิน จากนั้นนายตุ้นนำข้อมูลที่ได้ไปตั้งค่าในโปรแกรม เพื่อให้ระบบทำงานได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ หากเมื่อไหร่ที่ระบบตรวจจับได้ว่าดินมีความชื้นน้อยกว่าข้อมูลที่ป้อนไป ระบบจะให้น้ำอัตโนมัติ ในทางกลับกันหากฝนตกแล้วดินชื้น ระบบจะตรวจจับได้ว่าไม่ต้องให้น้ำเพราะความชื้นเพียงพอต่อพืชแล้ว

การเริ่มต้นทำจริงๆ แล้วไม่ได้ยากเลย แต่เพียงต้องการข้อมูลความรู้และทำความรู้จักพืชที่ปลูก และหากอุปกรณ์ที่มีนั้นมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ก็ควรจะรู้จักวิธีการแบ่งโซน หรือการแบ่งเขตแบ่งเวลาเพื่อทำให้ระบบน้ำเหมาะสมกับความต้องการของพืชนั่นเอง

เพื่อนๆ คนไหนที่สนใจหรือมีคำถามในการทำ สามารถคอมเม้นคำถามไว้ด้านล่างได้เลยนะครับ และสามารถติดต่อสอบถามการทำระบบ นวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่ จากคุณตุ้นได้ที่เบอร์ 0873969449 หรือ
E mail : mailto:naritchaphan.penpondee@nectec.or.th

และเข้าร่วมศึกษาดูงานจากสมาชิกในกลุ่ม Facebook : HandySense Community (https://www.facebook.com/groups/handysense 15) หรือติดต่อสอบถามการติดตั้งระบบ HandySense เพิ่มเติมได้ที่เว็ปไซต์ (https://handysense.io/ 6)

ขอขอบคุณข้อมูลและคำแนะนำในการเริ่มต้นทำระบบอัจฉริยะ จาก คุณตุ้น นริชพันธ์ เป็นผลดี นักวิจัยด้านระบบเกษตรอัจฉริยะ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการเกษตรดิจิทัล สังกัดศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ผู้ได้รับรางวัลนักสร้างสรรนวัตกรรมการเกษตร ปี 2562

เพื่อนๆ สามารถอ่านบทความและดูวิดีโอเกี่ยวกับนวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่จาก Kaset Go ได้ที่นี่

Smart Farm ชื่อฟังดูยากจัง แล้วยากจริงไหม? ลองไปดูวิดิโอกันเลย! Smart Farm ชื่อฟังดูยากจัง แล้วยากจริงไหม? ลองไปดูวิดิโอกันเลย!หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง นวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่ ว่าจะช่วยให้การจั 9

“HandySense” เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ โดย ”คุณตุ้น” นักวิจัยจาก NECTEC เกษตรกร Smart Farmer ทั้งหลายห้ามพลาด! “HandySense” เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ โดย ”คุณตุ้น” นักวิจัยจาก NECTEC นวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่ ทั้งหลายห้ามพลาด! 1

เกษตรไทยที่ว่าแน่อาจจะแพ้ “เกษตรอัจฉริยะ” จากประเทศทะเลทราย ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตได้ถึง 3 เท่า! เกษตรไทยที่ว่าแน่อาจจะแพ้ "เกษตรอัจฉริยะ" จากประเทศทะเลทราย ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตได้ถึง 3 เท่า! 3

มุมมองในในอนาคตของเรา

ผู้เขียนเล็งเห็นถึงอนาคตของ เกษตรกรได้แล้ว เล็งเห็นควาก้าวหน้าของอาชีพแล้ว และเห็นถึงตลาดสินค้าเกษตรในอนาคตได้ด้วย
เกษตรกรยุคใหม่ ไม่ใช่ผู้ปลูกเพื่อขายผลผลิตแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่สามารถขายต้นพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ และสอนการปลูก และแปรรูปได้ด้วย
เกษตรกรยุคใหม่ ไม่ใช่ปลูกตามเพื่อน ปลูกตามชาวบ้านอีกแล้ว แต่เป็นคนที่มีความรู้ทั้งเรื่องการเกษตร เรื่องเทคโนโลยี และการทำเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างดี
เกษตรกรยุคใหม่ ไม่ใช่ปลูกเพื่อขายให้พ่อค้าคนกลางอีกต่อไป แต่เป็นการขายไปยังลูกค้าโดยตรง และไม่ได้ปลูกแปลงใหญ่เหมือนในอดีต กลับเปลี่ยนเป็นปลูกแปลงย่อย หลายแบบ หลายพันธุ์พืช เพื่อสะดวกในการควบคุมราคาและการตลาด

ตัวอย่าง เราเคยปลูกอ้อย 100 ไร่ เพื่อตัดส่งโรงงานน้ำตาล และผลิตเป็นน้ำตาลขายในยี่ห้องของโรงงานเอง ซึ่งโรงงานเป็นคนกำหนดราคาโดยไม่ได้สนใจต้นทุนของคนปลูก สุดท้ายได้กำไรปีละประมาณ 1 ล้านบาทจากการปลูกอ้อย 100 ไร่ แต่คนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมยุคใหม่สามารถปลูกอ้อยเพียง 10 ไร่ เพื่อให้ได้กำไร 1 ล้านบาท ด้วยแรงงานเพียง 1-2 คน ด้วยการผลิตน้ำตาลขายเอง ในยี่ห้อของตนเอง และเป็นน้ำตาลรูปแบบใหม่ๆ ด้วยการขายท่อนพันธุ์ ด้วยการนำกากอ้อยไปผลิตเป็นปุ๋ยและเชื้อเพลิงชีวภาพ จำหน่ายในชื่อของตนเอง ด้วยการนำใบอ้อยไปผลิตเป็นสินค้าหลากหลายชนิดออกจำหน่าย

ผู้เขียนเห็นอนาคตของคนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากความรู้ที่ได้รับจากโลกออนไลน์ และออฟไลน์ การพัฒนาของเทคโนโลยี ทำให้เกิดเครื่องจักรแบบใหม่ มีขนาดกระทัดรัด มีราคาเข้าถึงได้ และใช้งานแสนง่ายโดยใช้แรงงานเพียงน้อยนิดเท่านั้นเอง

บทสรุปที่แสนสดใส

เมื่อโลกนี้มีประชากรมากขึ้น และประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย และวัยเด็ก เหลือคนวัยทำงานอยู่เพียงน้อยนิด อีกทั้งไปทำงานด้านอื่นๆ เสียมากกว่า จึงมีเกษตรกรน้อยลงแต่ผลผลิตยังคงเพียงพอเลี้ยงชาวโลกได้อย่างสบาย นี่แหล่ะอนาคตของเกษตรกรตามความเห็นของผู้เขียนหละ

ผู้เขียน : 
ปัญญวัฒน์ ชูเชิด

5 พฤศจิกายน 2564

แชร์ได้นะ!

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Shopping Cart