มะนาวทูลเกล้า กลิ่นหอมอันดับ 1

8 ศรัตรู ของมะนาว

8 ศรัตรู ของมะนาว

1. โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Xanthomonas asonpodis pv.citri) ระบาดในช่วงฤดูฝน เกิดจากการติดเชื้อทางรอยแผลที่แมลงกัดกินกิ่งหรือลำต้น
ลักษณะอาการ จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วนทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกันคือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำมีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้มต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผลส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลืองต่อมาแผลจะแตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอนและไม่มีวงแหวนล้อมรอบเมื่อต้นเป็นโรคนี้มากๆจะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วงผลผลิตลดลงกิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลายไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์
พยายามอย่าให้เกิดบาดแผล และป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี
กำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน

8 ศรัตรู ของมะนาว

2. โรคราดำ เกิดจากแมลงพวก เพลี้ย เข้าทำลาย ซึ่งแมลงเหล่านี้นำเชื้อราติดตัวมาด้วย

ลักษณะอาการ ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรกกระด้าง ทำให้ผมไม่สวยต้นจะแคระแกร็น

การป้องกันกำจัดทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงประเภท ปากดูดซึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคราดำ

8 ศรัตรู ของมะนาว

3. โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Fastidious bacteria (Candidatus Liberibacter asisticus) ซึ่ง อาศัยในท่อน้ำท่ออาหารของเนื้ออเยื่อพืช

ลักษณะอาการใบจะด่างเป็นสีเหลืองหรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็กน้ำหนักน้อยต้นจะโทรม

การป้องกันกำจัด ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟใส่ปุ๋ยที่มี ธาตุสังกะสีและ แมกนีเชียมปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินให้อยู่ระหว่าง 6.0-6.5

8 ศรัตรู ของมะนาว

4. โรครากเน่าและโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา Phytophthora parasitica

ลักษณะอาการ รากฝอยและรากแขนงจะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะโคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น

การป้องกันกำจัด อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้นและไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน

แมลงศัตรูที่สำคัญ

8 ศรัตรู ของมะนาว

1. หนอนชอนใบ

ลักษณะอาการ จะทำความเสียหายในระยะแตกใบอ่อนโดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ จะมองเห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบและใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นและไม่ติดผล

การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจดูตามใบและยอด โดยเฉพาะระยะที่เริ่มผลิใบอ่อน กรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลายหากพบมากใหัฉีดพ่น สารเคมีกำจัดแมลง กลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน หรือฟอร์โมไธออนในอัตราที่ฉลากกำหนด

8 ศรัตรู ของมะนาว

2. หนอนกินใบ (หนอนแก้ว)

ลักษณะอาการ กัดกินใบอ่อนและยอดอ่อน

การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจตูตามใบอ่อนและยอดอ่อนเมื่อพบไข่และตัวหนอนก็จับทำลายเสียฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง กลุ่มเมทามิโดฟอส ที่มีชื่อทางการค้าว่า ทามารอน ในอัตรา 20-30 ซีซี. หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น

8 ศรัตรู ของมะนาว

3. เพลี้ยไฟ

ลักษณะอาการ จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อนและผลการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผลช่วงระยะการระบาดจะขี้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลที่ถูกทำลายจะ ปรากฏรอยสีเทาเป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตามความยาวของผล

การป้องกันกำจัด เด็ดผลที่แคระแกร็นถ้าพบการทำลายของเพลี้ย ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ คาร์โบชัลแฟนเปอร์เมทริน

8 ศรัตรู ของมะนาว

4. ไรแดง

ลักษณะอาการ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น ผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในเวลาต่อมา ผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงในที่สุด

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10-15 วัน ในตอนเช้า หรือตอนเย็นเพื่อป้องกันอาการใบไหม้

8 ศรัตรู ของมะนาว

5. ไรสนิม

ลักษณะอาการ ไรชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก มีวงจรชีวิตตั้งแต่ฟักออกจากไข่ถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลา 7-12 วัน การเข้าทำลายด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผลและใบเข้าทำลายได้ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เพศเมียวางไข่ได้คราวละ 400-500 ฟอง การดูดกินที่ผลและใบ ภายใน 2 สัปดาห์ ผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมดำปรากฏให้เห็นไรสนิมชนิดนี้ต้องการน้ำมันจากผิวเปลือกนำไปใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะเดียวกันตัวไรสนิมอาจผลิตสารบางอย่างออกมาเปลี่ยนเปลือกสีเขียวให้เป็นสีน้ำตาลอมดำ

นอกจากนี้ เปลือกผลจะแข็งกระด้างและแห้ง ส่งผลทำให้แคระแกร็น ปริมาณน้ำลดลง การระบาดของไรชนิดนี้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เกิดกับผลที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของทรงพุ่ม หรืออาจเป็นร่มเงาของต้นไม้ข้างเคียง หรือร่มเงาของอาคารที่อยู่อาศัย

การป้องกันและกำจัด ต้องตัดแต่งทรงพุ่มให้แสงแดดส่องได้ทั่ว และตัดต้นไม้ข้างเคียงออกบ้าง ส่วนอยู่ใต้ร่มเงาอาคารที่พักอาศัยดังกล่าว จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกไปให้ได้รับแสงแดด อย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง
หากยังพบมีการระบาดอยู่บ้างให้ฉีดพ่นด้วย กำมะถันผง ที่มีจำหน่ายตามร้านค้าวัสดุการเกษตรทั่วไป อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือ 20 ลิตร ฉีดเพียง 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน อาการผลสีม่วงอมดำจะหมดไป

แมลงและโรคเยอะจะปลูกดีมั้ย

มะนาว เป็นพืชเศรษฐกิจและมีราคาค่อนข้างแพง โดยเฉพาะในฤดูแล้ง แต่ก็ไม่วายมีโรคและแมลงศัตรูมากมาย ทำให้เกษตรกรมือใหม่ถอดใจไม่กล้าลงทุน แต่หากเราศึกษาให้ลึกจะพอทราบได้ว่า

โรคที่เกิด เกิดจากภาวะเป็นกรดเป็นส่วนใหญ่ และในปัจจุบันเกษตรกรยุคใหม่หลายรายใช้วิถีอินทรีย์เพื่อป้องกัน ด้วยการใช้น้ำปูนใสฉีดพ่นเป็นประจำและสามารถป้องกันได้จริง แม้จะไม่สามารถปเองกันได้ 100% แต่ก็มีปัญหาน้อยลงเป็นอย่างมาก

แมลงศัตรู มักเป็นเพลี้ย และไร สายพันธุ์ต่างๆ เช่นเดียวกับพืชตระกูลส้มอื่นๆ รวมทั้งเกษตรกรที่ปลูกผักมักพบเจอเป็นประจำ และที่นิยมใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงเหล่านี้ ได้แก่

  • น้ำหมักใบยาสูบ+น้ำส้มสายชู+เหล้าขาว+น้ำยาล้างจาน
    สูตรนี้นิยมใช้ในการปลูกมะเขือ ถั่วฝักยาว และผักอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยป้องกันและกำจัดได้เกือบ 100% เลยทีเดียว
  • น้ำยาล้างจาน
    ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว สามารถเข้าไปยึดเกาะผิวหนังของแมลงได้ดี แมลงที่หายใจทางผิวหนังทั้งหลายมอดม้วยมรณาจากน้ำยาล้างจาน แทบทั้งสิ้น

เกษตรกรมือใหม่ทั้งหลาย เมื่อทราบทราบวิธีการป้องกันและกำจัด โรคและแมลงศัตรูของมะนาวซึ่งสามารถทำใช้เองได้แล้ว เลิกกังวลได้เลยและขอให้ริเริ่มปลูกกันได้เลย โดยเริ่มปลูกทีละเล็กละน้อย หลากหลายพันธุ์ จนเกิดความชำนาญจึงค่อยขยายพื้นที่ปลูกจะเป็นการดีมาก

ปัจจุบันการตอนกิ่งมะนาวขายทำรายได้ดีมาก หากเกษตรกรสามารถปลูกได้แล้ว การขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายก็คงไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป

แชร์ได้นะ!

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Shopping Cart