ไม้จามจุรีมีชื่อเรียกกันหลากหลายชื่อ บ้างเรียกต้นฉำฉา บ้างเรียกต้นก้ามปู เป็นไม้ต้นใหญ่ เติบโตได้เร็ว บางต้นมีขนาดถึง 10 คนโอบ เป็นไม้ที่มีประโยชน์ทุกส่วน ตั้งแต่รากจนถึงใบ คนปลูกต้นไม้มักจะรู้จักดี เพราะในใบจะมีธาตุในโตเจนสูง จึงนิยมนำใบไปผสมกับดินปลูกต้นไม้ขายเป็นการค้า ที่เรียกว่า ดินผสมใบก้ามปูนั่นเองต้นจามจุรีหรือต้นฉำฉา เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก โตเร็ว เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์เดียวกับพืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับแบคทีเรียที่ตรึงธาตุไนโตรเจนได้ ฉะนั้นใบจามจุรีหรือใบก้ามปู จึงมีธาตุไนโตรเจนมากถึง 2 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าใบไม้ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว จากคุณค่าของใบจามจุรีที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่มีประโยชน์ให้แก่ดินปลูกต้นไม้ จึงทำให้วงการปลูกต้นไม้หันมาสนใจเพื่อนำไปผสมกับดินเป็นวัสดุสำหรับเพาะปลูก
ลักษณะทั่วไป ของต้นจามจุรี
จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทาง
พฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr. ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม
จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้จะโตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ อย่างสังเกตเห็นได้ชัด
จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็ว มีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้างคล้ายรูปร่ม เรือนยอดสูงประมาณ 40 ฟุต สูง 20 – 30
เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อน ลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายไม้มะม่วงป่าหรือวลนัทเมื่อนำมาตกแต่งทำเฟอร์นิเจอร์ จะขึ้นเงาเป็นมันแวววาว นับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติลักษณะของเนื้อไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือ สามารถดัดงอได้สูงมาก เนื้อไม้มีความชื้นสูง และมีสารพวกแอลคาลอยด์ (alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ ใบจามจุรี เป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้น ทั้งใบยาวประมาณ 25 – 40 เซนติเมตร ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่ใบย่อย 2 – 10 คู่ ต่อหนึ่งใบ ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจากก้านใหญ่ ใบย่อยรูปขนานเปียกปูนแต่เบี้ยว ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปานกลาง ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย ดอกจามจุรีเป็นช่อดอกทรงกลม แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามยอดปลายกิ่งกลีบดอกเล็กมาก แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก มีก้านช่อดอกสีเขียวอ่อนยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร ช่อหนึ่งๆ มีดอกตั้งแต่ 25-35 ดอก และมักบานพร้อมกัน
ดอกจามจุรี มีสีชมพูรูปกรวยขนาดเล็กมี 6 กลีบ แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก จะมีเส้นเกสรตัวผู้ยาวเป็นพู่ฟูล้นดอกออกมา ลักษณะคล้ายแส้เล็กๆ เกสรตัวผู้ตอนบนสีชมพู ตอนล่างสีขาวยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกได้ทั้งในฤดูร้อนและฤดูฝนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ผลของต้นจามจุรีเป็นฝักรูปขอบขนานบิดโค้งเล็กน้อย กว้าง 1.5 –2.5 เซนติเมตร ยาว 15 – 18 เซนติเมตร ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล โป่งและคอดเป็นตอนๆ ตามตำแหน่งเมล็ด ภายในฝักมีเนื้อนุ่มเหนียว และเมล็ดจำนวนมาก เมื่อแก่เมล็ดมีสีดำเนื้อนิ่ม เมล็ดรูปรีค่อนข้างแบนมี 15 – 25 เมล็ด
สรรพคุณทางด้านสมุนไพร ของต้นจามจุรี
จามจุรี ไม้ยืนต้นที่สามารถนำมาทำเป็นพืชสมุนไพรได้ เปลือกของลำต้น ป่นให้ละเอียด ใช้เป็นยาสมานรักษาแผล เปลือกจากลำต้นและเมล็ด ใช้รักษาอาการท้องบิด ท้องเสีย ใบมีรสที่เย็น สรรพคุณเย็น ต้านพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ดมีรสฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ การใช้เป็นยาสมานรักษาแผล ให้นำเปลือกที่แห้งแล้ว มาบดหรือป่นให้ละเอียดจนเป็นผง จากนั้นนำมาโรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาเรื่อยจนกว่าแผลจะหาย ข้อควรระวัง เมื่อรับประทานเมล็ด หรือน้ำยางจากฝักเข้าไป จะทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มีอาการอาเจียนและถ่ายอย่างรุนแรง
ปุ๋ยอินทรีย์จากใบก้ามปู หรือใบจามจุรี
ต้นจามจุรีเป็นไม้ประดับยืนต้น ที่สวยงามเนื่องจากเรือนยอดแผ่กว้างทั้งยังให้ร่มเงาที่ร่มเย็น เนื่องจากใบเป็นใบประกอบแบบผสมแบบขนนก ค่อนข้างใหญ่และอยู่ชิดกัน เมื่อพระอาทิตย์ตกดินใบจะหุบเข้าหากันครั้นรุ่งเช้าก็จะคลี่ขยายใบออก เพื่อเป็นการช่วยให้น้ำค้างที่ดินอยู่ตามกิ่งก้านหยดลงถึงพื้นดิน บรรดากล้วยไม้ที่เกาะติดอยู่ตามลำต้นและเฟิร์นที่อยู่ตามพื้นดินภายใต้ร่มเงาของจามจุรีจึงเจริญเติบโตได้ดีเนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วจึงมีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น ใบใช้ทำปุ๋ยหมักได้ โดนเฉลี่ยมีไนโตรเจนถึงร้อยละ 3.24 มีการนำใบจามจุรีไปหมักผสมกับดิน เพื่อใช้เป็นดินปลูกต้นไม้ขายเป็นการค้ามากมาย ภายใต้ชื่อ ดินผสมใบก้ามปู หรือแม้แต่นำเฉพาะใบแห้งมาใส่ถุงขาย สามารถประกอบเป็นอาชีพได้เลยทีเดียว
ปลูกจามจุรีใช้เลี้ยงเป็นอาหารสัตว์
จามจุรีสามารถปลูกเป็นอาหารสัตว์ได้ ใบและฝักมีคุณประโยชน์มากสำหรับ วัว ควาย ซึ่งมักจะชอบกินใบเขียวและใบอ่อน ฝักที่แก่มีเนื้อสีน้ำตาล ถ้าใช้เลี้ยงแม่วัวที่รีดนม จะทำให้น้ำนมมีคุณภาพดีขึ้น ฝักจะแก่ราวๆ เดือนมีนาคม สามารถเก็บรักษาไว้เลี้ยงวัว ควายได้ในกรณีหาหญ้าฟางได้ยาก หรือฟางข้าวมีราคาแพง สารอาหารในฝักจามจุรีมีคูณค่าดีเท่ากับหญ้าแห้งที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้เนื้อในของฝักแก่ที่มีสีน้ำตาล ยังสามารถใช้หมักเพื่อผลิตแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ โดยฝักจามจุรี 100 กิโลกรัม จะได้แอลกอฮอล์ราวๆ 11.5 ลิตร นอกจากนี้ ยังสามารถนำฝักจามจุรีไปต้มกับน้ำรับประทานแบบน้ำชาได้ มีรสหวาน ประแล่มๆ กิ่งก้านสาขาขยายพุ่มกว้างให้ร่มเงาเย็นสบาย ก็หมายมั่นไว้ว่าจะปลูกบ้านต้นไม้ไว้สักหลังไว้บนต้นใหญ่ต้นนี้ เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อน ในแต่ละปีจะได้ปุ๋ยจากใบจามจุรีหรือใบก้ามปูหลายๆ ตัน เมื่อนำไปหมักกับมูลสัตว์และเชื้อจุลินทรีย์ ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี ซึ่งมีเเร่ธาตุไนโตรเจนสูงไว้ใช้ในไร่ ประหยัดไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีต้นก้ามปู (ต้นฉำฉา) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์เดียวกับพืชตระกูลถั่ว ซึ่งเป็นพืชที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับแบคทีเรียที่ตรึงธาตุไนโตรเจนได้ จึงมีธาตุไนโตรเจนถึง 2 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าใบไม้ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว จากการศึกษาพบว่าสภาพดินบริเวณโคนต้นก้ามปูมีความร่วนซุยมาก
ลักษณะของต้นจามจุรีที่นำมาใช้ประโยชน์
ทั้งนี้วิธีใช้ประโยชน์ต้นก้ามปูที่ได้ผลดีที่สุด คือ หลังจากปลูกประมาณ 3 ปีให้ตัดแต่งต้นก้ามปูในช่วงต้นฤดูฝนจนเหลือแต่เฉพาะตอสูงจากพื้นดิน 50-70 เซนติเมตร แล้วปล่อยให้แตกกิ่ง ส่วนใบ หรือกิ่งอ่อนที่ตัดแต่งไปแล้ว ให้นำไปไว้โคนต้นไม้ผลหรือสมุนไพร ปล่อยให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ย โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและเมื่อถึงฤดูแล้งของทุกปี ต้นก้ามปูที่แตกกิ่งใหม่จะผลัดใบตามธรรมชาติ ใบที่ร่วงหล่นเกษตรกรเพียงแต่ปล่อยทิ้งไว้ให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยบำรุงดิน หรือ นำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ นอกจากนี้ เกษตรกรที่ทำนา ยังสามารถใช้วิธีเดียวกันนี้ได้ โดยปลูกต้นก้ามปูไว้ตามหัวไร่ปลายนา ปล่อยให้ใบร่วงหล่น แล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดในดิน ซึ่งเกษตรกรปลูกเพียงครั้งเดียว แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อเนื่องหลายสิบปีหรือนำเฉพาะใบไปใช้กับพืชเพิ่มเเร่ธาตุไนโตรเจน (N)
ใบก้ามปูช่วยทำให้เครื่องปลูกอุ้มน้ำและความชื้นดีกว่าเปลือกถั่วลิสง ปลดปล่อยธาตุอาหารของพืชออกมา และยังปรับปรุงโครงสร้างของดิน ปลูกให้มีคุณสมบัติดีขึ้นด้วย ก่อนนำมาใช้ควรทำการแช่น้ำระยะเวลา 2 – 3 เดือน ใบแห้งที่ใช้เวลาในการย่อยสลายนาน ทำให้ช่วยรักษาสภาพดินให้ร่วนโปร่งระบายน้ำดีได้นานหากเป็นใบไม้ที่มีกระบวนการย่อยสลายเร็วไปจะทำให้เกิดความร้อนในดินเป็นอันตรายต่อต้นพืช และทำให้ดินศูนย์เสียช่องว่างเร็วด้วย ดินก็จะแน่นแข็ง
ดินจากใบก้ามปูเป็นดินที่ขุดมาจากใต้ต้นก้ามปูในป่าแท้ๆ โดยทั่วไปประกอบด้วยธาตุอาหารสำคัญ คือ
- มีไนโตรเจนสูง
- ทำให้ต้นโตเร็ว
- บำรุงไม้ใหญ่
- ปลูกไม้ดอก
- ปลูกไม้ประดับ
- ปลูกพืชผักทุกชนิด
ธาตุอาหารสำคัญในดินใบก้ามปู สามารถเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินช่วยให้ธาตุอาหารถูกรากดูดไปใช้ได้มากขึ้นเพิ่มที่อยู่ของจุลินทรีย์ในดิน เพิ่อช่วยย่อยวัตถุมาเป็นอาหารให้พืช ดินผสมใบก้ามปูเนื้อดินโปร่งระบายน้ำและอากาศได้ดี ธาตุอาหารสูง
ดินที่ดี คือดินแบบไหน
ดิน หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่รวมกับสารอินทรีย์ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ เป็นผิวชั้นบนที่ห่อหุ้มโลก โดยองค์ประกอบของดิน มีดังนี้
- อินทรียวัตถุ ได้แก่ ซากพืชซากสัตว์ที่ผ่านการย่อยสลายแล้ว และสารอินทรีย์ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการย่อยสลายมาแล้ว แต่ไม่รวมเศษซากพืชหรือสัตว์ ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการย่อยสลาย
- อนินทรียวัตถุ ได้จากการผุพังสลายตัวของหินและแร่จากเปลือกโลก เป็นองค์ประกอบที่มีมากที่สุดในดิน ขนาดเนื้อดินแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มอนุภาคขนาดทราย คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.0 - 0.05 มม.
- กลุ่มอนุภาคขนาดทรายแป้ง คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.05– 0.002 มม.
- กลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง เล็กกว่า 0.002 มม.
- อากาศ คือ ก๊าซต่าง ๆ ที่แทรกตัวอยู่ตามช่องว่างในดิน เช่น O2 , N2 , CO2
- สารละลายส่วนใหญ่ คือ น้ำที่แทรกอยู่ระหว่างช่องว่างในเม็ดดิน
ดินดีคือ ดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช มีปริมาณอนินทรียวัตถุ อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศ ในสัดส่วนที่เหมาะสม สามารถปลูกพืชได้โดยใช้วิธีการจัดการดูแลตามปกติธรรมดาที่ไม่ยุ่งยาก มักจะมีหน้าดินสีดำหนา มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง มีค่า PH อยู่ประมาณ 5.5 - 7.0 และไม่มีชั้นที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืช
ดินไม่ดี หรือดินเลว คือ ดินที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสม หรือเหมาะสมน้อยสำหรับการเพาะปลูก ส่งผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้ ถ้าหากว่าจำเป็นต้องใช้ดินเหล่านี้ในการเพาะปลูกพืช ก็ต้องมีการจัดการแก้ไขให้เหมาะสมเสียก่อน
ดิน 3 ประเภท
ดินในแต่ละท้องถิ่นอาจมีลักษณะและสมบัติต่างกัน โดยเบื้องต้นสามารถจำแนกดิน ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ซึ่งมีประโยชน์แตกต่างกัน ดังนี้
- ดินเหนียว
เป็นดินที่อุ้มน้ำได้มาก จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชที่ต้องการน้ำมาก เช่น ข้าว นอกจากนี้ดินเหนียวยังมีประโยชน์ในด้านศิลปะ เช่น ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ขึ้นรูปในงานปั้น และประโยชน์ในด้านวิศวกรรม เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำอิฐ ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง และใช้เป็นวัสดุดิบในการผลิตเซรามิก เพื่อใช้ในงานวิศวกรรมและอุตสาหกรรม - ดินร่วน
เป็นดินที่ประกอบด้วยทราย โคลนตม และดินเหนียว โดยมีปริมาณดินทราย และดินเหนียวไม่มากนัก ดังนั้น น้ำและอากาศจึงไหลผ่านดินร่วนได้ดีกว่าดินเหนียว พืชสามารถตรึงอาหารได้มาก พอสมควร จึงเหมาะที่จะใช้ในการเพาะปลูกพืชทั่ว ๆ ไป - ดินทราย
เป็นดินที่ทรายเป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่าร้อยละ 84 เนื้อดินมีการเกาะตัวกันหลวม ๆ มองเห็นเป็นเม็ดเดี่ยว ๆ ได้ อุ้มน้ำได้น้อย น้ำไหลผ่านได้ดี จึงเหมาะที่จะใช้ปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อย เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด นอกจากนี้ ดินทรายยังมีประโยชน์เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานในงานวิศวกรรมโยธา ใช้เป็นวัสดุถมในงานก่อสร้างต่าง ๆ และเป็นส่วนผสมในปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างต่าง ๆ
นอกจากนี้ดินโดยทั่วไปยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
- เป็นแหล่งผลิตอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
- เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
- เป็นที่ให้รากพืชยึดเกาะเพื่อให้ต้นตั้งได้ รวมถึงเป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช
- เป็นแหล่งผลิตและดูดซับแก๊สต่าง ๆ
- เป็นแหล่งย่อยสลายซากพืชซากสัตว์
- ทำให้พื้นโลกมีอุณหภูมิเหมาะสม
- เป็นแหล่งกักเก็บน้ำและอากาศ สำหรับมนุษย์ พืช และสัตว์
- เป็นแหล่งวัสดุสำหรับก่อสร้างและเป็นของใช้ในครัวเรือน
ดินเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลรักษาให้ดินมีสภาพสมบูรณ์ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
การคัดเลือกส่วนผสมของดินปลูกจากใบก้ามปู
- นำใบแห้งที่หามาได้ คัดแยกสิ่งแปลกปลอมจำพวกเศษถุงพลาสติกออก นำใบแห้งใส่ภาชนะหมัก รดด้วยน้ำเปล่าผสมจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (อัตราส่วน 1 บัวรดน้ำใส่จุลินทรีย์ 3 ฝา) คลุกเคล้าให้เข้ากันทั่วทั้งกอง
- จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
- น้ำเปล่า
ประโยชน์ของดินปลูกจากใบก้ามปู
- สามารถเพาะปลูกพืชในบริเวณพื้นที่ดินไม่ดีหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการปลูก
- ใช้พื้นที่เพาะปลูกน้อย สามารถทำการผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ
- ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินและกำจัดวัชพืช
- สามารถปลูกพืชอย่างต่อเนื่องได้ตลอดปีในพื้นที่เดียวกัน
การนำไปใช้ประโยชน์
ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตออกมาจำหน่าย โดย ฟาร์มอยู่ดี มีสุข ใช้วิธีการหมักแบบไม่กลับกอง หมักทับกันเป็นชั้นๆ โดยไม่เคล้ารวมกัน หมักในโรงหมักแบบมีหลังคา มีช่องระบายอากาศและความร้อน หมักจนเชื้อราขาวกลายเป็นสีเขียว จนอุณหภูมิของกองปุ๋ยเย็นตัวลง จำนำมาป่น หรืออัดเม็ด ก่อนนำมาบรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
แบบใบแห้งป่น
เราซื้อมาจากเกษตรกร ผู้ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมใส่กระสอบ แล้วป่นด้วยเครื่องจักรเพื่อกำจัดกิ่ง และฝักที่ปนมา นำมาบรรจุถุงจำหน่าย ซึ่งมีข้อดีคือการป่นแล้วจะทำให้กระบวนการย่อยสลายเร็วกว่าการย่อยสลายเองตามธรรมชาติ จึงไม่ทำให้เกิดความร้อนในกระบานการย่อสลายนี้ (ความร้อนจากการย่อยสลาย ทำให้พืชต้นอ่อน ชงักการเจริญเติบโต ส่วนพืชต้นแก่จะมีอาการใบเหลือง หรืออาจตายได้)
ควรใช้ใส่โคนต้นไม้ ทั้งแบบกระถาง และปลูกลงดิน โดยไม่ต้องคลุมโคนด้วยวัสดุอื่น เนื่องจากใบแห้งจะมีการย่อยสลายโดยใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้อาจทำให้เกิดความร้อน และอาจทำให้พืชเกิดปัญหาใบเหลือง หรือเหี่ยวเฉาได้ แต่หากเป็นพืชที่อยู่กลางแจ้งมีแดดส่องทั้งวัน ความคลุมโคนบางๆ ด้วยเปลือกมะพร้าวสับ ฟางข้าว หรือเศษหญ้า แต่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อย เพื่อให้มีความชื้นมากพอที่จะควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินไปได้
แบบหมัก
เราซื้อมาจากเกษตรกร ผู้ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมใส่กระสอบ แล้วป่นด้วยเครื่องจักรเพื่อกำจัดกิ่ง และฝักที่ปนมา จากนั้นนำมาหมักด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นเวลา 15 วัน จึงนำมาบรรจุถุง เพื่อจำหน่าย วิธีนี้มีระยะเวลาการผลิตนานกว่า แต่ให้ประโยชน์ได้เร็วโดยเฉพาะ การปลูกผัก และไม้กระถาง เนื่องจากการย่อยสลายสมบูรณ์แล้วจากการหมัก
สามารถใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก หรือใส่โคนต้น แล้ววางทับด้วยวัสดุอื่น ได้ เพื่อป้องกันความชื้น และไนโตรเจนระเหยไปในอากาศ อย่างรวดเร็ว โดยควรรดน้ำให้ชุ่มหลังจากใส่โคนต้น ทั้งหมดเพื่อให้ส่วนที่ย่อยสลายแล้ว ละลายลงไปในดิน (ไนโตรเจน และธาตุอาหารอื่น จะไหลลงดินได้ง่ายด้วยการนำพาของน้ำ)
ใบก้ามปู สาสมารถย่อยสลายได้ในเวลา 3-4 เดือน โดยธรรมชาติ แต่ใบแห้งที่เราหมักจุลินทรีย์แล้ว จะย่อยสลายในเวลาเพียง 1 เดือน จึงควรสังเกตุพืชที่เรานำไปใส่ หากมีการเจริญเติบโตดี ควรใส่ซ้ำทุก 5-6 เดือน แต่หากมีอาการใบเหลือหลังจากใส่ไปแล้วในช่วงแรก ควรนำออกห่างจากโดนต้น หรือนำออกมากองให้ห่างโคน สัก 1 เดือน เพื่อลดความร้อยจากการย่อยสลาย จึงนำกลับมาใส่ใหม่อีกครัง
แบบผสมกับมูลวัวหมัก
เราซื้อมาจากเกษตรกร ผู้ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมใส่กระสอบ แล้วป่นด้วยเครื่องจักรเพื่อกำจัดกิ่ง และฝักที่ปนมา นำมาหมักเป็นชั้นล่างสุด ราดด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจนชุ่มน้ำทับด้วยมูลวัวนมแห้งในอัตรา 30% โดยปริมาณ ราดด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจนชุ่มน้ำ ทับด้วยเปลือกมะพร้าวสับในอัตรา 10% โดยปริมาณ ราดด้วยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจนชุ่มน้ำ จากนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายเป็นเวลา 30 วัน จึงนำมาคลุกเคล้ากันก่อนนำมาบรรจุถุง เพื่อจำหน่าย วิธีนี้มีระยะเวลาการผลิตนานมาก แต่ให้ประโยชน์ได้เร็วโดยเฉพาะ การปลูกผัก และไม้กระถาง เนื่องจากการย่อยสลายสมบูรณ์แล้วจากการหมัก และมีเปลือกมะพร้าวเป็นตัวเก็บความชื้นและสะสมจุลินทรีย์ แถมเปลือกมะพร้าวยังทำหน้าที่สร้างช่องว่าในดินแทนเพิ่มขึ้นอีกด้วย
สามารถใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก หรือใส่โคนต้น แล้ววางทับด้วยวัสดุอื่น ได้ เพื่อป้องกันความชื้น และไนโตรเจนระเหยไปในอากาศ อย่างรวดเร็ว โดยควรรดน้ำให้ชุ่มหลังจากใส่โคนต้น ทั้งหมดเพื่อให้ส่วนที่ย่อยสลายแล้ว ละลายลงไปในดิน (ไนโตรเจน และธาตุอาหารอื่น จะไหลลงดินได้ง่ายด้วยการนำพาของน้ำ)
ใบก้ามปู สาสมารถย่อยสลายได้ในเวลา 3-4 เดือน โดยธรรมชาติ แต่ใบแห้งที่เราหมักจุลินทรีย์แล้ว จะย่อยสลายในเวลาเพียง 1 เดือน จึงควรสังเกตุพืชที่เรานำไปใส่ หากมีการเจริญเติบโตดี ควรใส่ซ้ำทุก 5-6 เดือน แต่หากมีอาการใบเหลือหลังจากใส่ไปแล้วในช่วงแรก ควรนำออกห่างจากโดนต้น หรือนำออกมากองให้ห่างโคน สัก 1 เดือน เพื่อลดความร้อยจากการย่อยสลาย จึงนำกลับมาใส่ใหม่อีกครัง
ประโยชน์สูงสุด ของใบก้ามปู
ใบไม้แห้งส่วนใหญ่จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ใบพืชตระกูลถั่วจะใช้เวลานานกว่า และสร้างความร่วนซุยให้ดินมากกว่าใบไม้อื่นๆ เพิ่มไนโตรเจนในดินให้พืชมากกว่า แต่ประโยชน์สูงสุดที่ได้คือ การเข้าไปสลายการตรึงธาตุอาหารในดิน ที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ
ดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ เป็นดินที่เลวแต่สามารถปรับให้เป็นดินดีได้ด้วยการเพิ่มอินทรีย์วัตถุเข้าไปในดินดังกล่าว เกษตรกรส่วนใหญ่ซึ่งปลูกพืชโดยไม่ได้บำรุงดินไว้ล่วงหน้า จะพบปัญหาต้นแคระแกน ใบเหลือง เหี่ยวเฉาเมื่อโดนแดดจัด และไม่ติดผล จึงนิยมเติมปุ๋ยเคมีเข้าไปในดิน เพราะพืชนำไปใช้ได้ทันที เพราะเป็นธาตุอาหารสำเร็จรูป แต่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาด และชนิดของพืช ตัวอย่างเช่น
- ทุเรียน สูงประมาณ 1 เมตร เราสามารถใส่ปุ๋ยเคมีเพียง 1 กำมือ พืชก็จะนำธาตุอาหารที่ใส่ลงไปไปใช้ประโยชน์ได้ทันที และเพียงพอต่อความต้องการ
- หากใส่น้อยเกินไปก็ไม่เพียงพอ ไม่มีผลแตกต่างจากช่วงเวลาก่อนหน้า
- แต่หากใส่ 2 กำมือ พืชสามารถนำไปใช้ได้เพียง 1 กำมือเท่านั้นเอง เพราะขนาดยังเล็กมาก ส่วนที่เหลือจึงถูกตรึงไว้ในดิน เกิดปฏิกิริยาทางเคมีในดินไม่ให้ธาตุในดินที่มีอยู่เดิมถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้ กลายเป็นโทษแก่ต้นทุเรียน
- หรือหากใส่ปริมาณมากกว่า 2 กำมือ ต้นทุเรียนจะเหี่ยวเฉา และมีใบเหลือง ร่วง หล่น และแห้งตาย จากความรุนแรงของสารเคมีที่เราใส่มากเกินไป เข้าไปฆ่าจุลินทรีย์ที่ปลายราก และสร้างรอยแผลแก่รากพืช เชื้อราที่เป็นโทษหลายชนิดที่อยู่ในดินจะรุมทำร้ายรากพืช จนตายในเวลาที่รวดเร็ว
การเติมอินทรีย์วัตถุให้ดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ จะเกิดประโยชน์จากตัวอย่างข้างต้น ในกรณ๊เราใส่ปุ๋ยเคมี 2 กำมือ พืชนำไปใช้ 1 กำมือ และถูกตรึงไว้ไม่ได้ประโยชน์อีก 1 กำมือ จะได้รับปฏิกิริยาจากจุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์เข้าไปช่วยคลายการตรึงธาตุอาหารเหล่านั้นให้ละลายออกมา และพืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในราคาถูกกว่าการใส่สารเคมีซ้ำเข้าไป
ฟาร์มอยู่ดี มีสุข หวังว่าเกษตรกรจะยอมรับในหลักการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเรา เพื่อประโยชน์สูงสุดจะเกิดแก่เกษตรกรเอง ทั้งประหยัดต้นทุน ลดโดรคที่เกิดบริเวณรากพืช ช่วยให้พืชเจริผยเติบโตได้ดี และมีผลผลิตที่คุ้มค่าจากการลงแรง และลงทุน เพื่อผลแห่งความสุขในบั้นปลายนั่นเอง