มูลค้างคาว ปลูกต้นไม้

ดินปลูกต้นไม้

ดินปลูกต้นไม้ ผสมอย่างนี้ดีแน่นอน

ดินปลูกต้นไม้ และวัสดุปลูกที่ใช้ในการขยายพันธุ์และปลูกพืช ดินปลูก และวัสดุปลูก ดินปลูกต้นไม้ที่ดี มีวัสดุอะไรผสมอยู่บ้าง เชื่อว่าทุกคนน่าจะนึกถึงดินเป็นอันดับแรก แต่ว่านอกจากดินแล้ว ยังมีวัสดุปลูกต้นไม้อีกหลายอย่าง ที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้เพื่อเป็นแนวทางให้ท่านเลือกใช้วัสดุปลูกชนิดอื่นๆ ตามความเหมาะสม เพราะการปลูกต้นไม้/พืชบางชนิด หากเลือกใช้เครื่องปลูกที่ไม่ใช่ดินจะดูแลจัดการได้ง่ายกว่า เช่น การปลูกในโรงเรือน ในวงบ่อหรือกระถาง การปลูกไม้แขวน/รากอากาศ หรือการปลูกระบบไฮโดรโปนิก เพราะง่ายต่อการจัดการ และวัสดุปลูกจะมีความสะอาด ปราศจากโรคสะสม การปลูกพืชโดยใช้วัสดุอื่นแทนดินนั้นเรียกว่า media culture หรือ substrate culture เป็น การปลูกพืชในวัสดุที่เป็นอันตรายต่อพืช ทั้งนี้วัสดุปลูกไม่จำเป็นต้องมีปริมาณธาตุอาหารที่เพียงพอต่อพืช แต่ควรมีคุณสมบัติในการถ่ายเทและอุ้มน้ำได้ดี รวมถึงยังสามารถค้ำจุนต้นและยึดรากพืชได้ดี และวัสดุที่เราจะมาแนะนำในวันนี้คือ ดินผสมอะไรแล้วปลูกดี ในธรรมชาตินั้น ต้นไม้เจริญเติบโตหรือขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมของพรรณพืชแต่ละชนิด แต่การปลูกเลี้ยงไม้กระถาง เป็นการกำหนดให้ต้นไม้ต้องอยู่ในที่ที่จำกัดในภาชนะปลูก รากพืชจะถูกจำกัดขอบเขต ดินหรือเครื่องปลูกจึงมีความจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการยึดลำต้น การอุ้มน้ำ การถ่ายเทอากาศ และง่ายในการที่รากจะไชชอนได้สะดวก ดังนั้นเพื่อให้พืชเจริญเติบโตตามความประสงค์ของผู้ปลูกเลี้ยง ควรมีคุณสมบัติโดยทั่วไปดังนี้ – ดินร่วนโปร่ง น้ำหนักเบา ระบายน้ำได้ดี ถ่ายเทอากาศได้ทั่วถึง ดูดซับน้ำได้ดี – มีธาตุอาหาร หรือปุ๋ยที่พืชต้องการอย่างสมบูรณ์ – …

ดินปลูกต้นไม้ ผสมอย่างนี้ดีแน่นอน Read More »

กล้วยตายพราย

กล้วยตายพราย

กล้วยตายพราย “โรคกล้วยตายพราย” หรือ “ตายพราย” เราพบเฉพาะกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง และกล้วยหอม สำหรับกล้วยไข่กำแพงเพชร ยังไม่เคยพบ ถึงแม้จะปลูกกอติดกันก็ตาม กล้วยตายพราย โดยเชื้อรา เชื้อรา มี 2 ชนิด เกิดจากเชื้อรา Phaeoseptoria musae เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense กล้วยตายพราย โดยแมลง ด้วงงวง มี 2 ชนิด ด้วงงวง เจาะลำต้น ด้วงงวงเจาะเหง้า กล้วยตายพราย มักเกิดตอนที่กล้วยติดเครือซึ่งเป็นช่วงที่ต้นกล้วยต้องการสารอาหารเป็นอย่างมาก เพื่อบำรุงลูก จึงมีความอ่อนแอในการป้องกันตนเอง และโดนโจมตีได้ง่ายที่สุด ดูข้อมูลเพิ่มเติม เกิดจากเชื้อรา Phaeoseptoria musae โรคใบจุด มีหลายชนิด เช่น โรคซิกาโตกาสีเหลือง เฟโอเซปทอเรียใบจุด ใบจุดสีดำ ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดสีกระ แต่ละโรคเกิดจากเชื้อราต่างชนิดกัน เราพบโรคนี้ในกล้วยหอมทอง ลักษณะอาการคือ ใบเกิดเป็นจุดเล็กขนาดเท่าหัวเข็มหมุด สีน้ำตาลดำ รูปร่างยาวรี เมื่อความชื้นเหมาะสมแผลตรงกลางจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนปนเทา ขอบแผลเป็นแถบสีน้ำตาลเข้ม …

กล้วยตายพราย Read More »

ปุ๋ยคอก ประโยชน์เยอะ

ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ทางเลือกใหม่ที่มากคุณค่า

ปุ๋ยคอก ตัวช่วยสำคัญต่อการเสริมความอุดมสมบูรณ์ในดิน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลสัตว์ เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาจากมูลสัตว์ ซึ่งในจุดเริ่มต้นจะเป็นสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเอาไว้ในวงจรของเกษตรผสมผสาน แล้วต่อมาจึงมีมูลสัตว์จากส่วนของปศุสัตว์เพิ่มเข้ามา มูลสัตว์ที่ใช้อาจเป็นมูลของสัตว์ชนิดไหนก็ได้ และจะใช้มูลของสัตว์ชนิดเดียวหรือผสมกันหลายชนิดก็ได้เช่นกัน โดยทางกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ขยายความเพิ่มเติมเอาไว้ว่า ปุ๋ยมูลสัตว์ที่เราจะนำมาใช้ประโยชน์ได้  ต้องเป็นมูลสัตว์ที่ผ่านกระบวนการหมัก เพื่อย่อยสลายเสียก่อน ถึงจะทำให้พืชสามารดูดซึมธาตุอาหารที่มีไปใช้ประโยชน์ได้ และปุ๋ยสดใหม่ก็จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยที่เก็บไว้นานแล้ว  เนื่องจากปุ๋ยชนิดนี้สูญเสียธาตุอาหารออกไปในรูปแบบของก๊าซได้ง่าย ประโยชน์ของมูลสัตว์ แม้ว่าธรรมชาติของปุ๋ยมูลสัตว์จะมีอัตราส่วนของธาตุอาหารน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณมวลรวมของปุ๋ย แต่คุณสมบัติในการบำรุง และปรับโครงสร้างดินนั้นถือว่ายอดเยี่ยมมาก เพราะสามารถปรับเปลี่ยนได้ทั้งลักษณะทางกายภาพของดิน คุณสมบัติเชิงชีวภาพและคุณสมบัติเชิงเคมี เรื่องนี้เคยมีการทดสอบจนเห็นผลชัดเจนมาแล้ว ด้วยการวัดสภาพดินที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี พบว่าดินมีความแน่นน้อยลง มีความพรุนมากขึ้น ช่วยให้ถ่ายเทอากาศได้ดี อีกทั้งยังมีอัตราการเกิดเม็ดดินสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้มูลสัตว์ยังมีส่วนช่วย เพิ่มประสิทธิภาพของธาตุอาหารในดิน พร้อมกับเป็นแหล่งพลังงานที่ดี ให้กับจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินด้วย คุณยงยุทธ โอสถสภา และคณะ ได้ทำงานวิจัยและให้ข้อสรุปที่น่าสนใจว่า หากใช้มูลสัตว์กับดินที่เสื่อมสภาพเป็นเวลานานพอ มันจะช่วยเพิ่มค่า C.E.C. ในดินให้สูงขึ้น ค่านี้คือระดับความสามารถในการแลกประจุของดิน ซึ่งเชื่อมโยงกับปริมาณอินทรียวัตถุในดินโดยตรง ค่านี้ยิ่งมากเท่าไรก็ยิ่งบ่งบอกว่าดิน มีความอุดมสมบูรณ์มากเท่านั้น ปัจจัยที่ควบคุมความเป็นประโยชน์ เนื่องจากมูลสัตว์เป็นวัตถุดิบที่ได้มาจากธรรมชาติ อาจมีการแปรรูปเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานบ้าง แต่จะไม่มีการเสริมกระบวนการทางเคมีเพื่อการกำหนดปริมาณธาตุอาหารแต่อย่างใด ดังนั้นความไม่แน่นอนของแร่ธาตุที่มี จึงเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งในการใช้ปุ๋ยชนิดนี้ แต่เราก็สามารถคัดสรรเพื่อให้ได้ปุ๋ยคุณภาพดีที่สุดได้ ด้วยการพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อธาตุอาหารในปุ๋ย ดังนี้ …

ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ทางเลือกใหม่ที่มากคุณค่า Read More »

Shopping Cart