ไตรโคเดอร์มา

รู้จักหรือยัง ไตรโคเดอร์มา เชื้อรามหัศจรรย์ควบคุมโรคพืช

ไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เป็นเชื้อราที่เป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษอีกอย่างคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค รู้จักจุลินทรีย์ในดินกันหรือยัง? จุลินทรีย์ในดินนั้นมีหลายชนิด ได้แก่ แบคทีเรีย รา แอคติโนไมซีด สาหร่าย โปรโตซัว โรติเฟอร์ ไมโคพลาสมา และไวรัส เป็นต้น จุลินทรีย์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การส่งเสริมการเจริญเติบโต และการทำลายพืช กล่าวโดยรวมแล้ว จุลินทรีย์ในดินมีความสำคัญดังต่อไปนี้  ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ ให้มีขนาดของโมเลกุลเล็กลง มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงรูปของธาตุอาหารพืช  เช่น   เปลี่ยนจากรูปที่เป็นสารอินทรีย์ ไปเป็นสารอนินทรีย์ เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช ในบางกรณีจุลินทรีย์อาจมีกิจกรรมที่สามารถลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชได้ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยการสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช การตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนได้ จุลินทรีย์หลายชนิดมีบทบาทในการสร้างกรดอินทรีย์บางชนิด บ้างสามารถสร้างกรดอนินทรีย์ ในปริมาณที่พอเหมาะที่จะละลายแร่ธาตุอาหารพืช และเป็นประโยชน์ต่อพืชต่อไป …

รู้จักหรือยัง ไตรโคเดอร์มา เชื้อรามหัศจรรย์ควบคุมโรคพืช Read More »